ตำนานนางนาคโสมา ผู้เป็นบรรพบุรุษชาวเขมร "พญานาค" จากตำนานสู่ความเชื่อ
ตำนานนางนาคโสมาผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวเขมร
ทีนี้มาดูความเชื่อเรื่อง “นาค” ในประเทศกัมพูชากันบ้าง พบว่านาคปรากฏชื่อในจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร คือเมืองนาคปุระ และเมืองนาคปัตตนะ ซึ่งเชื่อกันว่านาคมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดราชวงศ์ของกษัตริย์เขมร ซึ่งตำนานนี้กล่าวอ้างถึงชื่อเดิมของประเทศกัมพูชาว่า “ราชอาณาจักรนาค” ในตำนานการเกิดชนชาติเขมรเรื่อง “พระทองนางนาค” ดังนี้
พราหมณ์ชาวอินเดียนามว่า กามพู สวยัมภูวะ หรือ เกาฑินยะ ซึ่งต่อมาถูกขนานนามว่า “พระทอง” ล่องเรือมาจากแดนไกลเข้าสู่ชายฝั่งดินแดนเขมร ในความฝันของพระทองได้รับคำสั่งให้เอาธนูวิเศษจากวิหารและเอาชนะเจ้าหญิงนาคนามว่าโสมา ธิดาของราชาพญานาค จึงได้ทำการเสกคาถาแล้วยิงธนูวิเศษมาที่เรือธิดาพญานาค ทำใหนางตกพระทัยกลัวและยินยอมอภิเษกสมรสด้วย ฝ่ายพญานาคผู้เป็นสัสสุระ (แปลว่าพ่อตา) ได้สูบน้ำทะเลออกจนหมด เพื่อให้เกิดเป็นแผ่นดินผุดขึ้นมานามว่า “ดินแดนโคกโธลก” เนื่องจากเหนือแผ่นดินนั้นมีต้นหมันงอกขึ้นอยู่ต้นหนึ่ง พญานาคได้ยกดินแดนนั้นให้เป็นของขวัญในงานอภิเสกสมรส ซึ่งต่อมาพระทองได้ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าเกาฑินยะวรมันเทวะ พระมหากษัตริย์กัมพูชาพระองค์แรกแห่งอาณาจักฟูนัน และดินแดนนี้ได้กลายเป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และบุตรหลานของพระทองกับนางนาคโสมาก็ได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวเขมรทั้งปวง
เรื่องแผ่นดินเขมรที่แต่เดิมเคยเป็นผืนน้ำนั้น คงพอมีเค้าร่างอยู่บ้าง เพราะในภาษาเขมรเรียกแผ่นดินว่า “ดึกเด็ย” ซึ่งมาจากคำว่า “ดึก” ที่แปลว่าน้ำ รวมกับคำว่า “เด็ย” ที่แปลว่า ดิน ซึ่งในทางภาษาศาสตร์นั้น การเรียกคำก่อนหลังย่อมมีนัยสำคัญบางประการซ่อนอยู่ แสดงว่า น้ำในที่นี้สำคัญกว่าดิน คือมาก่อนดิน หรือผืนดินเกิดมาจากผืนน้ำนั่นเอง
ส่วนเรื่องที่พระทองได้แต่งงานกับนางนาคโสมานั้น คงพอมีเค้าร่างอยู่บ้างจากบันทึกของราชทูตชาวจีนนามว่า “จิวต้ากวาน” ได้กล่าวถึงตำนานที่เล่าว่า ที่ปราสาทหินพิมานอากาศนั้น เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กษัตริย์เขมรโบราณจะต้องเสด็จมาบรรทมกับนางนาค 9 เศียร เพื่อความอุดมสมบูรณ์แห่งอาณาจักรก่อนที่จะเสด็จไปบรรทมกับพระมเหสีหรือเหล่าสนมได้
ต่อมาก็มีตำนานเกี่ยวกับพระทองสังหารพ่อตา คือหลังจากที่พระทองได้อภิเษกกับนางนาคแล้ว พระทองก็ได้พานางนาคขึ้นมายังโลกมนุษย์ พญานาคผู้เป็นพ่อตาได้กำชับกับพระทองว่า เวลาที่สร้างปราสาท ห้ามสร้างรูปพญาครุฑอย่างเด็ดขาด เพราะครุฑกับนาคไม่ถูกกัน เมื่อพระทองสร้างปราสาทบายน พระองค์กลับมีรับสั่งให้สร้างรูปครุฑไว้ที่ตรงบริเวณบันได เพราะไม่ทรงปรารถนาให้พ่อตามาเยี่ยม พอพญานาคมาเยี่ยมธิดาและบุตรเขย เห็นรูปพญาครุฑอยู่ที่บริเวณทางเข้าด้านหน้าปราสาท จึงเข้าปราสาทไม่ได้ จำต้องเลื้อยเข้ามาทางบ่อน้ำโบราณที่อยู่ตรงกลางปราสาทแทน ครั้นพบหน้าบุตรเขย พญานาคก็ดีใจรีบเลื้อยเข้าไปกอดรัด หากแต่พระทองสำคัญผิดคิดว่าผู้เป็นพ่อตามุ่งหมายสังหารตน จึงฉีกร่างของพญานาคออกเป็นสองซีก ทำให้พิษนาคเปื้อนเปอระไปตามร่างกาย ล้างอย่างไรก็ไม่ออก เป็นเหตุให้พระทองต้องกลายเป็นโรคเรื้อน ทำให้คนเขมรรุ่นหลังเข้าใจผิดคิดว่า รูปพระยมที่มีคราบไลเคน (lichen ลักษณะคล้ายสาหร่ายสีเขียวปะปนกับรา) ติดอยู่นั้นคือรูปพระทองที่กลายเป็นโรคเรื้อน ส่วนรูปสลักตอนพระกฤษณะปราบพญานาคกาลิยะนั้น คนเขมรบางคนก็เข้าใจผิดว่าคือรูปพระทองทรงกำลังสังหารพญานาคผู้เป็นพ่อตานั่นเอง
เรื่องราวของพญานาคนั้นส่งผลและมีอิทธิพลต่อชาวเขมรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพิธีบวช ก่อนบวชพระจะต้องมีการบวชนาคเหมือนประเทศไทย ในสมัยโบราณนาคเขมรจะไม่มีการโกนผม และสวมชฎาพญานาค เป็นเครื่องสวมศีรษะเป็นลักษณะของเศียรนาค หรือจะเป็นเรื่องของพิธีแต่งงาน ที่อาจจะแปลกสักหน่อยตรงที่ฝ่ายชายจะต้องเดินจับชายสไบฝ่ายหญิงเพื่อเข้าพิธีแต่งงาน และจะให้เกียรติฝ่ายหญิงเป็นอย่างมาก นั้นเพราะความเชื่อเรื่องพระทองอภิเษกสมรสกับนางนาคโสมานั้นเอง โดยที่พ่อตาปรารถนาให้จัดพิธีมงคลทั้งในโลกมนุษย์ และนครบาดาล จึงทำให้พระทองต้องจับสไบนางนาคโสมา และให้ข้าราชบริพารจับชายเสื้อของพระทองต่อกันไปเพื่อจะได้สามารถลงไปยังเมืองบาดาลได้และสามารถหายใจในน้ำได้ดุจดั่งพญานาคนั่นเอง
นอกจากนี้ พญานาคยังเป็นสื่อแทนของความเชื่อถือศรัทธาของชาวเขมรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะศิลปวัฒนธรรม เพราะนาคในที่นี้จะเป็นสื่อแทนของผู้ที่มีบุญญาธิการ และด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันกันอย่างมากระหว่างมนุษย์และพญานาค ด้วยความเชื่อว่า นาค คือบรรพบุรุษของตนนับแต่นั้นมา
ทีนี้มาดูความเชื่อเรื่อง “นาค” ในประเทศกัมพูชากันบ้าง พบว่านาคปรากฏชื่อในจารึกเขมรสมัยเมืองพระนคร คือเมืองนาคปุระ และเมืองนาคปัตตนะ ซึ่งเชื่อกันว่านาคมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดราชวงศ์ของกษัตริย์เขมร ซึ่งตำนานนี้กล่าวอ้างถึงชื่อเดิมของประเทศกัมพูชาว่า “ราชอาณาจักรนาค” ในตำนานการเกิดชนชาติเขมรเรื่อง “พระทองนางนาค” ดังนี้
พราหมณ์ชาวอินเดียนามว่า กามพู สวยัมภูวะ หรือ เกาฑินยะ ซึ่งต่อมาถูกขนานนามว่า “พระทอง” ล่องเรือมาจากแดนไกลเข้าสู่ชายฝั่งดินแดนเขมร ในความฝันของพระทองได้รับคำสั่งให้เอาธนูวิเศษจากวิหารและเอาชนะเจ้าหญิงนาคนามว่าโสมา ธิดาของราชาพญานาค จึงได้ทำการเสกคาถาแล้วยิงธนูวิเศษมาที่เรือธิดาพญานาค ทำใหนางตกพระทัยกลัวและยินยอมอภิเษกสมรสด้วย ฝ่ายพญานาคผู้เป็นสัสสุระ (แปลว่าพ่อตา) ได้สูบน้ำทะเลออกจนหมด เพื่อให้เกิดเป็นแผ่นดินผุดขึ้นมานามว่า “ดินแดนโคกโธลก” เนื่องจากเหนือแผ่นดินนั้นมีต้นหมันงอกขึ้นอยู่ต้นหนึ่ง พญานาคได้ยกดินแดนนั้นให้เป็นของขวัญในงานอภิเสกสมรส ซึ่งต่อมาพระทองได้ทรงขึ้นครองราชเป็นพระเจ้าเกาฑินยะวรมันเทวะ พระมหากษัตริย์กัมพูชาพระองค์แรกแห่งอาณาจักฟูนัน และดินแดนนี้ได้กลายเป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และบุตรหลานของพระทองกับนางนาคโสมาก็ได้กลายเป็นบรรพบุรุษของชาวเขมรทั้งปวง
เรื่องแผ่นดินเขมรที่แต่เดิมเคยเป็นผืนน้ำนั้น คงพอมีเค้าร่างอยู่บ้าง เพราะในภาษาเขมรเรียกแผ่นดินว่า “ดึกเด็ย” ซึ่งมาจากคำว่า “ดึก” ที่แปลว่าน้ำ รวมกับคำว่า “เด็ย” ที่แปลว่า ดิน ซึ่งในทางภาษาศาสตร์นั้น การเรียกคำก่อนหลังย่อมมีนัยสำคัญบางประการซ่อนอยู่ แสดงว่า น้ำในที่นี้สำคัญกว่าดิน คือมาก่อนดิน หรือผืนดินเกิดมาจากผืนน้ำนั่นเอง
ส่วนเรื่องที่พระทองได้แต่งงานกับนางนาคโสมานั้น คงพอมีเค้าร่างอยู่บ้างจากบันทึกของราชทูตชาวจีนนามว่า “จิวต้ากวาน” ได้กล่าวถึงตำนานที่เล่าว่า ที่ปราสาทหินพิมานอากาศนั้น เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่กษัตริย์เขมรโบราณจะต้องเสด็จมาบรรทมกับนางนาค 9 เศียร เพื่อความอุดมสมบูรณ์แห่งอาณาจักรก่อนที่จะเสด็จไปบรรทมกับพระมเหสีหรือเหล่าสนมได้
ต่อมาก็มีตำนานเกี่ยวกับพระทองสังหารพ่อตา คือหลังจากที่พระทองได้อภิเษกกับนางนาคแล้ว พระทองก็ได้พานางนาคขึ้นมายังโลกมนุษย์ พญานาคผู้เป็นพ่อตาได้กำชับกับพระทองว่า เวลาที่สร้างปราสาท ห้ามสร้างรูปพญาครุฑอย่างเด็ดขาด เพราะครุฑกับนาคไม่ถูกกัน เมื่อพระทองสร้างปราสาทบายน พระองค์กลับมีรับสั่งให้สร้างรูปครุฑไว้ที่ตรงบริเวณบันได เพราะไม่ทรงปรารถนาให้พ่อตามาเยี่ยม พอพญานาคมาเยี่ยมธิดาและบุตรเขย เห็นรูปพญาครุฑอยู่ที่บริเวณทางเข้าด้านหน้าปราสาท จึงเข้าปราสาทไม่ได้ จำต้องเลื้อยเข้ามาทางบ่อน้ำโบราณที่อยู่ตรงกลางปราสาทแทน ครั้นพบหน้าบุตรเขย พญานาคก็ดีใจรีบเลื้อยเข้าไปกอดรัด หากแต่พระทองสำคัญผิดคิดว่าผู้เป็นพ่อตามุ่งหมายสังหารตน จึงฉีกร่างของพญานาคออกเป็นสองซีก ทำให้พิษนาคเปื้อนเปอระไปตามร่างกาย ล้างอย่างไรก็ไม่ออก เป็นเหตุให้พระทองต้องกลายเป็นโรคเรื้อน ทำให้คนเขมรรุ่นหลังเข้าใจผิดคิดว่า รูปพระยมที่มีคราบไลเคน (lichen ลักษณะคล้ายสาหร่ายสีเขียวปะปนกับรา) ติดอยู่นั้นคือรูปพระทองที่กลายเป็นโรคเรื้อน ส่วนรูปสลักตอนพระกฤษณะปราบพญานาคกาลิยะนั้น คนเขมรบางคนก็เข้าใจผิดว่าคือรูปพระทองทรงกำลังสังหารพญานาคผู้เป็นพ่อตานั่นเอง
เรื่องราวของพญานาคนั้นส่งผลและมีอิทธิพลต่อชาวเขมรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพิธีบวช ก่อนบวชพระจะต้องมีการบวชนาคเหมือนประเทศไทย ในสมัยโบราณนาคเขมรจะไม่มีการโกนผม และสวมชฎาพญานาค เป็นเครื่องสวมศีรษะเป็นลักษณะของเศียรนาค หรือจะเป็นเรื่องของพิธีแต่งงาน ที่อาจจะแปลกสักหน่อยตรงที่ฝ่ายชายจะต้องเดินจับชายสไบฝ่ายหญิงเพื่อเข้าพิธีแต่งงาน และจะให้เกียรติฝ่ายหญิงเป็นอย่างมาก นั้นเพราะความเชื่อเรื่องพระทองอภิเษกสมรสกับนางนาคโสมานั้นเอง โดยที่พ่อตาปรารถนาให้จัดพิธีมงคลทั้งในโลกมนุษย์ และนครบาดาล จึงทำให้พระทองต้องจับสไบนางนาคโสมา และให้ข้าราชบริพารจับชายเสื้อของพระทองต่อกันไปเพื่อจะได้สามารถลงไปยังเมืองบาดาลได้และสามารถหายใจในน้ำได้ดุจดั่งพญานาคนั่นเอง
นอกจากนี้ พญานาคยังเป็นสื่อแทนของความเชื่อถือศรัทธาของชาวเขมรเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะศิลปวัฒนธรรม เพราะนาคในที่นี้จะเป็นสื่อแทนของผู้ที่มีบุญญาธิการ และด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันกันอย่างมากระหว่างมนุษย์และพญานาค ด้วยความเชื่อว่า นาค คือบรรพบุรุษของตนนับแต่นั้นมา
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น