บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2023

เถียงกันเอาเป็นเอาตาย เรื่อง "บั้งไฟพญานาค" จริง หรือปลอม ใครได้ประโยชน์? หรือควรโทษใคร?

รูปภาพ
  "ในขณะที่คนไทยเห็นขึ้นจากฝั่งลาว คนลาวก็เห็นขึ้นจากฝั่งไทย แล้วสรุปใครควรรับผิดชอบ ความเชื่อคนลาวเขาไม่ทำร้ายคนของเขา แต่ความเชื่อคนไทย กำลังทำร้ายกันเอง แล้วมันสมควรหรือไม่ที่จะให้เขามารับผิดชอบความเชื่อของตัวเอง และยัดเยียดคำว่างมงาย กบในกะลา ให้กับผู้ไปร่วมงานออกพรรษา รวมถึงสาเหตุของความงมงายคือชาวลาว .. งั้นหรือ?"  งานบุญออกพรรษา " #บั้งไฟพญานาค " กลายเป็นข้อถกเถียงและเป็นประเด็นในโลกโซเชียลอย่างดุเดือดเกี่ยวกับการท้าพิสูจน์ หรือการงัดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาฟาดฟันเชือดเฉือนความเชื่อดั้งเดิมที่กลายเป็นความงมงาย การพยายามเปิดเผยความจริงเพื่อให้คนไทยตื่นรู้ถึงสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่เป็นเท็จ ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์? หรือคนที่ต้องการลบล้างความเชื่อเหล่านี้เพื่อจุดประสงค์อะไร? เรามาลองพิจารณากันดังนี้ ก่อนอื่นผู้เขียนขอเล่าประสบการณ์ตรงที่เคยไปชมบั้งไฟพญานาคเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2554 ให้ทุกคนได้ฟังกันเสียก่อน เพื่อให้เป็นแนวทางในการลำดับเรื่องราวเหล่านี้  ซึ่งในครั้งนั้น ผู้เขียนนั่งเครื่องไปลงอุดรฯ แล้วต่อรถทัวร์ไปหนองคาย เพื่อนั่งรถสองแถวไปวัดไทยโพนพิสัย ด้วยใจอยากไปเห็

เคล็ด ลาง อาถรรพ์ โบราณเขาถือ "ความเชื่อ" vs. "ความงมงาย" ของไทย

รูปภาพ
  ทุกประเทศ ล้วนมีตำนานความเชื่อที่ต่างกัน อย่างเช่นที่เราคุ้ยเคยเกี่ยวกับความเชื่อในประเทศไทยของเรา ที่ยังคงความเหลื่อมล้ำแตกต่างระหว่างภาค หรือแม้กระทั่งความเชื่อที่สืบทอดมาจากชาติพันธุ์ ซึ่งในบทสรุปของเคล็ดลางอาถรรพ์นั้น มีอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จิ้งจกร้องทัก ตุ๊กแกร้อง นกบินเข้าบ้าน ลักษณะของแมวเลี้ยง สัตว์ตัดผ่านหน้ารถ ฝันเวลาไหนที่จะเป็นลางสังหรณ์ ดังนั้น คำว่าเคล็ด ลาง จึงมักได้ยินควบคู่กันไป คือหากประสบลางร้าย ก็ให้แก้เคล็ดให้ร้ายกลายเป็นดี หรืออาจหมายรวมถึง เคล็ดในการที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ เคล็ดในการสร้างสิ่งมงคล โดยถูกบันทึกไว้จากครูบาอาจารย์รุ่นเก่า แต่ในโลกยุคปัจจุบันมนุษย์ฉลาดขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ความสะดวกสบายมากขึ้น แม้กระทั่งการค้นหาข้อมูลก็ง่ายเพียงพลิกฝ่ามือที่ถือโทรศัพท์อยู่ แล้วเปิดค้นหาได้ตามที่ใจต้องก าร ทำให้ความเชื่อในเรื่องเคล็ด ลาง อาถรรพ์ ลดน้อยลงไปบ้าง ซึ่งในส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าเหมาะ สม กับวิถีชีวิตในปัจจุบัน เพราะเคล็ดลางโบราณดังกล่าว บ่อยครั้งที่บรรพบุรุษท่านแฝงกุศโลบายไว้ภายในเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านของคุณย่าผู้เขียน "ถ้ามีใครมาเคาะป

ทำความรู้จักกับ "ข้าวเปลือกพิรอด" ของทนสิทธิ์ที่หาได้เหมือนจะง่ายแต่ไม่ใช่

รูปภาพ
       หลายคนอาจจะเคยได้ยินตำนานเล่าขานเกี่ยวกับความเชื่อของสิ่งที่มีพลังในตนเองโดยธรรมชาติ มีอำนาจวิเศษโดยที่ไม่ต้องผ่านพิธีกรรมใดๆ เราเรียกกันว่า "ทนสิทธิ์" (อ่านว่า ทน - สิทธิ์) ซึ่งคำนี้ก็ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด อาจจะเป็นคำสมาสที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มผู้เรืองเวทย์ก็เป็นได้ ในความหมายตีได้ว่า ความสำเร็จอันมาจากความอดทน หรือความสำเร็จในด้านคงทน คงกระพัน ก็เป็นไปได้เช่นกัน  สำหรับข้าวเปลือกพิรอด ก็จัดเป็นของทนสิทธิ์อีกอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านแสวงหาไว้ครอบครอง กล่าวกันว่า หากตักข้าวสวยขึ้นมายังมิทันเข้าปาก พบเห็นเมล็ดข้าวเปลือกสมบูรณ์ผิวสวยเนียน นั่นคือความโชคดีอย่างที่สุดที่ท่านได้พบกับข้าวเปลือกพิรอดตามตำรา ซึ่งผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวเปลือกพิรอดได้แพร่หลายก็น่าจะเป็น  หลวงพ่อเดิม พุทธสโร หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ แต่ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะพบได้โดยบังเอิญเสมอไป เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามที่จะหุงข้าวให้พบข้าวเปลือกพิรอด เมื่อนั้นข้าวที่พบจะไม่พิรอดถูกต้องตามตำราอย่างที่สุด เมื่อกล่าวเช่นนี้ การที่เราท่านจะพบ หรือเก็บข้าวเปลื

อักษรรูน (Runes) คืออะไร? และความหมายอักษรรูนโดยย่อ

รูปภาพ
   "อักษรรูนส์"  ถูกกล่าวถึงอีกครั้งจากซีรี่ส์เรื่องดัง "ไวกิ้ง" ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตำนานเกี่ยวกับอักษรรูนส์นั้น มีมานานนับพันปี กับศาสตร์การทำนายอนาคตที่แม่นยำ บวกกับพลังความขลังจากอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว อันเป็นที่ยอมรับของชาวยุโรปเหนือ หรือกลุ่มประเทศนอร์ดิก แถบสแกนดิเนเวีย เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมากจากศาสนาที่ถูกตีความเป็นลัทธินอกรีด เมื่อคริสตจักรเข้าไปเผยแพร่ในแถบนั้น หรือที่รู้จักกันในนาม ศาสนาอาซาทรู เกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากตำนานเทพเจ้านอร์ส อันเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าไวกิ้งโบราณ ผู้สืบเชื้อสายมาจากอาซาทรูเออร์ทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อกล่าวถึงเทพเจ้า ย่อมมีแหล่งที่มาแตกต่างกัน อย่างเช่นประเทศไทยเรา จะคุ้นชินกับมหาเทพของพราหมณ์-ฮินดู อันมีพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นองค์ประธาน หรือจะเป็นเทพเซียนทางแถบตะวันออก เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้ากวนอู ฯลฯ แต่หากมองเลยไปทางแถบกรีกโบราณ เราก็จะพบกับ เทพเจ้าซีอุส โพไซดอน อาเดส และเหนือขึ้นไปแถบประเทศนอร์ดิก ท่านก็จะพบกับตำนานเทพเจ้านอร์ส อันมีเทพเจ้าโอดิน และเทพีเฟรย่า เป็นพหุเทวนิยม แ