บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2024

ที่มาของคำว่า "ปราณ " มาจากไหนกันนะ

รูปภาพ
           ต้นกำเนิดของคำว่า "ปราณ" มีที่มาที่ไปอย่างไร หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่า "ปราณายามะ" (Pranayama) ในภาษาสันสกฤต คำนี้จะวนเวียนผูกพันกับเหล่าผู้ฝึกโยคะ ซึ่งหมายถึงการควบคุมลมหายใจ โดยเหล่าผู้ฝึกโยคะจะทราบดีว่า จะต้องทำควบคู่กันไปทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ  คลิปวิดิโอประกอบบทความ      วิชาการฝึกแบบโยคะนี้ มีต้นกำเนิดอยู่ในอารยธรรมอินเดียโบราณย้อนไปประมาณ 5,000ปีก่อน จากข้อสันนิฐานของนักประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในคัมภีย์พระเวท เป็นการฝึกฝนเพื่อผสานลมหายใจเข้ากับท่วงท่าต่างๆซึ่งแตกแยกแบ่งสายกันไปตามสำนัก และเชื่อว่ามีการสืบทอดวิชากันมาแบบปากต่อปาก จนกระทั่งท่าน "ปตัญชลี" (Patanjali) เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และได้รวบรวมวิธีการฝึกปฏิบัติไว้ในโยคะสูตร คาดว่ามีชีวิตช่วงราวศตวรรษที่2ก่อนคริสต์ศักราช สืบทอดตำราเก่าแก่มากมาย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันที่แพร่หลายในประเทศไทยตั้งแต่รัชกาลที่1 ถูกขนานนามว่า "ฤาษีดัดตน" ก็สันนิฐานได้ว่าท่วงท่ามาจากอาสนะ ในโยคะสูตรอีกเช่นกัน เหตุผลเพราะการที่เหล่าโยคีในอินเดียใช้แก้อาการปวดเมื่อยจากการนั่งสมาธิ ท...

พระพุทธรูปกับพระพิฆเนศวร์ มหาเทพและมหาเทวี วางรวมกันได้หรือไม่ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       สิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงขาดเสียมิได้ก็คือ หลายบ้านมีโต๊ะหมู่บูชาชุดใหญ่ และจัดวางพระพุทธรูป พระอริยสงฆ์สาวก รวมไปถึงทวยเทพทั้งพุทธทั้งพราหมณ์ปะปนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ถามว่าไม่สมควรเพราะอะไร เหตุผลเดียวที่น่าฟัง ก็คือ เป็นคนละศาสดา และคนละศาสนากันนั่นเองครับ ในศาสนาของพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ซึ่งมหาเทพ มหาเทวี ไม่ได้มีบทบาทในการปกป้องหรือคุ้มครองพระศาสนา อย่างที่เคยเอ่ยถึงบ้างว่า อาจจะมีการพยายามผสมผสานหลอมรวมในส่วนของฮินดู และตันตระยาน หรือนิกายที่แตกแยกไปสร้างคติใหม่โจมตีกันไป โจมตีกันมา นั่นไม่ใช่เหตุผลที่เราควรน้อมนำครับ วิถีปฏิบัติที่ต่างกันของทั้งสองศาสนา การปฏิบัติบูชาย่อมต่างกันตามไปด้วย ตรงส่วนนี้ให้ข้อคิดในการแยกโต๊ะบูชา หรือแยกหิ้งออกจากพระพุทธให้ชัดเจน จะเป็นผลดีต่อการบูชามากกว่า เช่น พระพิฆเนศวร์ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ ฯ (โดยปกติพระพรหมไม่นิยมบูชาในบ้านอยู่แล้ว) หรือจะเป็นพระแม่ปารวตี พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวตี หรือหมวดฤาษีต่าง ๆ เหล่านี้สืบเชื้อสายพราหมณ์ - ฮินดู โดยสมบูรณ์ ให้สังเกตว่า ขนาดวัดวาอารามยังสร้างวิหารแยก ยกเว้นบ...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๗ สหัสธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๗. สหัสธาร (Sahasrara) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑,๐๐๐ กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล พลังศักติ หรือพลังคอสมิก และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และสั่งการของสมองส่วนกลาง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๗ อยู่กลางฝ่ามือ ในส่วนนี้เราได้ทำการบริหารควบคู่ไปกับทุกจักระแล้วดังกล่าวข้างต้น ก็คือดึงลมเข้ากำหนดรับพลังคอสมิคผ่านกลางกระหม่อม ดึงลงสุดท้องน้อย กักลมไว้พร้อมกำหนดจิตไปที่จักระต่าง ๆ การกำหนดจิตไปที่จักระดังกล่าวนั้นก็คือการเคลื่อนพลังคอสมิคไปที่จักระนั้นนั่นเองครับ หลักการง่ายมาก และเมื่อบริหารจักระนั้นแล้วเราก็ผ่อนลมออก ปล่อยออกไป กลับไปทางกลางกระหม่อมเหมือนเดิม ขณะที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ทำคลิปเกี่ยวกับเทคนิคเหล่านี้ ไว้มีโอกาสจะจัดทำไว้ให้สำหรับคนที่สนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติ ก็ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละลำดับ อย่าไปจับหลักเยอะโดยที่เราจำไม่ได้นำมาปฏิบัติให้ส่งผลดีต่อร่างกายไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ ทำน้อยแต่ชำนาญและเห็นผล ดีกว่าหมก...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๖ อาชณะจักระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๖. อาชณะจักระ (Ajna) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๒ กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนล่างและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๖ อยู่ที่ปลายนิ้วนาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วนางแบบนี้ หมายถึงการสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (หอสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงพลังต่อคุรุภายใจ การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก บริหารจักระก็ทำเหมือนเดิมทุกประการ เปลี่ยนท่าสลับการจรดนิ้ว ขณะกักลมกำหนดจิตไปที่กลางหน้าผากระหว่างคิ้วสองข้างเหนือหว่างคิ้วไปเล็กน้อย จุดเดียวกับตันเถียนบน ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมู ฟรี ที่นี่ครับ👇 หรือสั่งซื้อได้ที่ พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๕ วิสุทธิ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๕. วิสุทธิ (Vishuddha) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๖ กลีบ สีฟ้าเข้ม ตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๕ อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมาธิ ข้อสังเกตคือ ปางมือนี้ จะตรงกับวิตรรกมุทรา หรือพระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกด้วย การฝึกบริหารจักระทำเหมือนเดิมครับ เปลี่ยนการจรดนิ้ว วางท่าเดิม ดึงลมตามสูตรเดิม เพิ่มเติมคือขณะกักลมหายใจ ให้กำหนดจิตไปอยู่ที่ลำคอตรงบริเวณเหนือกล่องเสียง พอเริ่มฝึกจนชำนาญแล้ว อาจจะเปลี่ยนการกักลมเป็น ๓-๕ วินาทีได้ ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมู ฟรี ที่นี่ครับ👇 หรือสั่งซื้อได้ที่ พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่    

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๔ อนาหตะ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๔. อนาหตะ (Anahata) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๒ กลีบ สีเขียว อยู่ตำแหน่งกลางกระดูกสันหลังแนวเดียวกับหัวใจตัดผ่านมากลางหน้าอก เป็นขุมพลังแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย การให้อภัย ควบคุมการทำงานของหัวใจ การหายใจ มีคุณสมบัติ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๔ อยู่ที่ปลายนิ้วก้อย การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วก้อยในลักษณะนี้ หมายถึง การสื่อสารบนพื้นโลกทุกชนิด เช่น จิตวิญญาณ พลังงานรอบตัว สัตว์ ต้นไม้ และคนทั่วไปก็ตาม วิธีการบริหารจักระก็กระทำเหมือนเดิมครับ วางท่าเพียงแค่เปลี่ยนนิ้วที่ จีบเป็นนิ้วโป้งจรดนิ้วก้อย วางพาดบนหัวเข่าท่าเดิม ดึงลมในลักษณะเดิมทุกประการ สูดหายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ให้ถึงท้องน้อย พร้อมกำหนดความรู้สึกว่าพลังคอสมิคไหลลงกลางศรีษะ วิ่งลงไปสู่ท้องน้อยพร้อมลมหายใจ หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ ๒-๓ วินาที พร้อมกำหนดความรู้สึกไปที่กลางทรวงอก ปล่อยลมออกทางปากพร้อมกำหนดความรู้สึกว่า พลังคอสมิคทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว และไหลขึ้นพร้อมลมหายใจแผ่ออกกลางศรีษะกลับสู่ธรรมชาติดังเดิม ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๓ มณีปุระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๓. มณีปุระ (Manipura) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๐ กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ความทะยานอยาก ความต้องการที่ไม่ผ่านการขัดเกลา เป็นขุมพลังการเผาผลาญพลังงานและเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ กระเพาะอาหาร ลำใส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๓ อยู่ที่ปลายนิ้วกลาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วกลางแบบนี้หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ หลักในการบริหารจักระที่สามก็กระทำเหมือนการดึงลมที่อธิบายไปแล้ว โดยให้คุณอยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลาย ปล่อยวางทุกสิ่ง น้อมนำจิตใจว่าฉันกำลังจะบริหารร่างกายด้วยการหายใจ เอานิ้วกลางจรดนิ้วโป้งทั้งสองข้างซ้ายขวา วางพาดไปบนหัวเข่าในลักษณะหงายจีบขึ้น ปล่อยลมออกให้หมดท้อง แล้วดึงลมไปสู่ตันเถียนล่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ ขณะดึงลมให้กำหนดความรู้สึกด้วยว่าพลังงานคอสมิคได้ไหลลงกลางศรีษะ และกำลังวิ่งไปพร้อมลมหายใจของเราและเข้าสู่จักระ ๒ หรือตันเถียนล่าง หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ประมาณ ๒-๓ วินาที ในห้วงเวลาที่กักเก็บลม กำหนดความรู้สึกไปที่กลา...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๒ สวาธิษฐาน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๒. สวาธิษฐาน (Swadhisthana) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๖ กลีบ สีส้ม อยู่ตำแหน่งใต้สะดือเหนืออวัยวะเพศตัดไปถึงปลายสุดก้นกบ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๒ อยู่ที่ปลายนิ้วโป้ง ตรงนี้พอให้เราจับจุดได้แล้วนะครับว่า การผสานมือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งจรดกัน นั่นหมายถึงการควบคุมแหล่งพลังงานที่ตำแหน่งนี้ เพื่อให้ฐานร่างกายมั่นคงและสามารถเข้าสู่กรรมฐานได้นาน เพราะการหล่อเลี้ยงพลังงานจากสวาธิษฐาน ซึ่งตามศาสตร์จีนก็คือตันเถียนล่างที่ผู้เขียนอธิบายไปแล้วในส่วนของการฟอกปอดนั่นเอง และอีกความเชื่อมโยงของจักระ ๒ ที่กำหนดไว้ที่ปลายนิ้วโป้ง เดี๋ยวเราจะเห็นว่าลีลาการจีบนิ้วของมุทรา ใช้นิ้วโป้งเป็นฐานเสมอ นั่นคือการเข้าระบบฝึกสมาธิด้วยการดึงลมหายใจ จะกำหนดจิตกำหนดใจไปที่จุดไหนในร่างกาย ลมต้องสุดลงไปที่ท้องน้อย ขังอยู่ที่ท้องน้อย ๒-๓ วินาทีนั่นเอง เราลองมาพิจารณากันในข้อต่อไป ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๑ มูลธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ๑. มูลธาร (Muladhara) หรือ กุณฑาลินี (Kundalini) หรือ เซอร์เพนทีน(Serpentine) สัญลักษณ์แทนคือดอกบัว ๔ กลีบ สีแดง ตำแหน่งอยู่ตรงกลางฝีเย็บระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เป็นขุมพลังของแต่ละชีวิต ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากงูไฟ หรือกุณฑาลินี ที่ผุดขึ้นมาจากใจกลางโลกและแผ่ขึ้นมาบนผืนดินบริเวณที่มีความร้อนเช่น ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน หรือผ่านต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้ กล่าวกันว่า เวลาที่เรามีเรี่ยวแรงทำอะไรอย่างมหาศาล เช่น ตกใจบ้านไฟไหม้แล้วยกตู้เย็นคนเดียวได้ หรือ วิ่งหนีอะไรสักอย่างได้เป็น 10 กิโล เพราะคิดว่าเห็นผี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังจากมูลธารจักระทั้งสิ้น ควบคุมการทำงานของ ต่อมลูกหมาก เพศ และระบบสืบพันธุ์ ในความเชื่อมโยมของมุทรา จักระ ๑ อยู่ที่บริเวณข้อมือ ในลักษณะของมุทราจะเห็นว่า จักระ ๑ ไม่สามารถกำหนดรูปลักษณ์ทางนิ้วมือได้ นั่นเพราะจักระนี้เป็นเสมือนขุมพลังในจักรวาล หลักในการฝึกเราจะไม่กระตุ้นให้จักระ ๑ ตื่นด้วยวิธีกำหนดสมาธิ หรืออะไรที่ไปรบกวน เพราะในภาษานักฝึกจักระจะเรียกว่าการตื่น จักระนี้จะตื่นด้วยตัวเอง และเป็นฐานรากส...