บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2024

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๗ สหัสธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๗. สหัสธาร (Sahasrara) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑,๐๐๐ กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล พลังศักติ หรือพลังคอสมิก และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และสั่งการของสมองส่วนกลาง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๗ อยู่กลางฝ่ามือ ในส่วนนี้เราได้ทำการบริหารควบคู่ไปกับทุกจักระแล้วดังกล่าวข้างต้น ก็คือดึงลมเข้ากำหนดรับพลังคอสมิคผ่านกลางกระหม่อม ดึงลงสุดท้องน้อย กักลมไว้พร้อมกำหนดจิตไปที่จักระต่าง ๆ การกำหนดจิตไปที่จักระดังกล่าวนั้นก็คือการเคลื่อนพลังคอสมิคไปที่จักระนั้นนั่นเองครับ หลักการง่ายมาก และเมื่อบริหารจักระนั้นแล้วเราก็ผ่อนลมออก ปล่อยออกไป กลับไปทางกลางกระหม่อมเหมือนเดิม ขณะที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ทำคลิปเกี่ยวกับเทคนิคเหล่านี้ ไว้มีโอกาสจะจัดทำไว้ให้สำหรับคนที่สนใจศึกษาและฝึกปฏิบัติ ก็ค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละลำดับ อย่าไปจับหลักเยอะโดยที่เราจำไม่ได้นำมาปฏิบัติให้ส่งผลดีต่อร่างกายไม่ได้ ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ ทำน้อยแต่ชำนาญและเห็นผล ดีกว่าหมก...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๖ อาชณะจักระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๖. อาชณะจักระ (Ajna) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๒ กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนล่างและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๖ อยู่ที่ปลายนิ้วนาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วนางแบบนี้ หมายถึงการสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (หอสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงพลังต่อคุรุภายใจ การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก บริหารจักระก็ทำเหมือนเดิมทุกประการ เปลี่ยนท่าสลับการจรดนิ้ว ขณะกักลมกำหนดจิตไปที่กลางหน้าผากระหว่างคิ้วสองข้างเหนือหว่างคิ้วไปเล็กน้อย จุดเดียวกับตันเถียนบน ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมู ฟรี ที่นี่ครับ👇 หรือสั่งซื้อได้ที่ พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๕ วิสุทธิ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
๕. วิสุทธิ (Vishuddha) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๖ กลีบ สีฟ้าเข้ม ตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๕ อยู่ที่ปลายนิ้วชี้ การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ หมายถึง การกระตุ้นปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมาธิ ข้อสังเกตคือ ปางมือนี้ จะตรงกับวิตรรกมุทรา หรือพระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปปางแสดงธรรมอีกด้วย การฝึกบริหารจักระทำเหมือนเดิมครับ เปลี่ยนการจรดนิ้ว วางท่าเดิม ดึงลมตามสูตรเดิม เพิ่มเติมคือขณะกักลมหายใจ ให้กำหนดจิตไปอยู่ที่ลำคอตรงบริเวณเหนือกล่องเสียง พอเริ่มฝึกจนชำนาญแล้ว อาจจะเปลี่ยนการกักลมเป็น ๓-๕ วินาทีได้ ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมู ฟรี ที่นี่ครับ👇 หรือสั่งซื้อได้ที่ พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่    

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๔ อนาหตะ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๔. อนาหตะ (Anahata) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๒ กลีบ สีเขียว อยู่ตำแหน่งกลางกระดูกสันหลังแนวเดียวกับหัวใจตัดผ่านมากลางหน้าอก เป็นขุมพลังแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย การให้อภัย ควบคุมการทำงานของหัวใจ การหายใจ มีคุณสมบัติ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๔ อยู่ที่ปลายนิ้วก้อย การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วก้อยในลักษณะนี้ หมายถึง การสื่อสารบนพื้นโลกทุกชนิด เช่น จิตวิญญาณ พลังงานรอบตัว สัตว์ ต้นไม้ และคนทั่วไปก็ตาม วิธีการบริหารจักระก็กระทำเหมือนเดิมครับ วางท่าเพียงแค่เปลี่ยนนิ้วที่ จีบเป็นนิ้วโป้งจรดนิ้วก้อย วางพาดบนหัวเข่าท่าเดิม ดึงลมในลักษณะเดิมทุกประการ สูดหายใจเข้าช้า ๆ ลึก ๆ ให้ถึงท้องน้อย พร้อมกำหนดความรู้สึกว่าพลังคอสมิคไหลลงกลางศรีษะ วิ่งลงไปสู่ท้องน้อยพร้อมลมหายใจ หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ ๒-๓ วินาที พร้อมกำหนดความรู้สึกไปที่กลางทรวงอก ปล่อยลมออกทางปากพร้อมกำหนดความรู้สึกว่า พลังคอสมิคทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว และไหลขึ้นพร้อมลมหายใจแผ่ออกกลางศรีษะกลับสู่ธรรมชาติดังเดิม ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๓ มณีปุระ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๓. มณีปุระ (Manipura) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๑๐ กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ความทะยานอยาก ความต้องการที่ไม่ผ่านการขัดเกลา เป็นขุมพลังการเผาผลาญพลังงานและเป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ กระเพาะอาหาร ลำใส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๓ อยู่ที่ปลายนิ้วกลาง การจรดนิ้วโป้งกับนิ้วกลางแบบนี้หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ หลักในการบริหารจักระที่สามก็กระทำเหมือนการดึงลมที่อธิบายไปแล้ว โดยให้คุณอยู่ในท่าที่สบาย ผ่อนคลาย ปล่อยวางทุกสิ่ง น้อมนำจิตใจว่าฉันกำลังจะบริหารร่างกายด้วยการหายใจ เอานิ้วกลางจรดนิ้วโป้งทั้งสองข้างซ้ายขวา วางพาดไปบนหัวเข่าในลักษณะหงายจีบขึ้น ปล่อยลมออกให้หมดท้อง แล้วดึงลมไปสู่ตันเถียนล่างเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ ขณะดึงลมให้กำหนดความรู้สึกด้วยว่าพลังงานคอสมิคได้ไหลลงกลางศรีษะ และกำลังวิ่งไปพร้อมลมหายใจของเราและเข้าสู่จักระ ๒ หรือตันเถียนล่าง หลังจากนั้นกักเก็บลมไว้ประมาณ ๒-๓ วินาที ในห้วงเวลาที่กักเก็บลม กำหนดความรู้สึกไปที่กลา...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๒ สวาธิษฐาน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  ๒. สวาธิษฐาน (Swadhisthana) สัญลักษณ์คือดอกบัว ๖ กลีบ สีส้ม อยู่ตำแหน่งใต้สะดือเหนืออวัยวะเพศตัดไปถึงปลายสุดก้นกบ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก ในความเชื่อมโยงของมุทรา จักระ ๒ อยู่ที่ปลายนิ้วโป้ง ตรงนี้พอให้เราจับจุดได้แล้วนะครับว่า การผสานมือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งจรดกัน นั่นหมายถึงการควบคุมแหล่งพลังงานที่ตำแหน่งนี้ เพื่อให้ฐานร่างกายมั่นคงและสามารถเข้าสู่กรรมฐานได้นาน เพราะการหล่อเลี้ยงพลังงานจากสวาธิษฐาน ซึ่งตามศาสตร์จีนก็คือตันเถียนล่างที่ผู้เขียนอธิบายไปแล้วในส่วนของการฟอกปอดนั่นเอง และอีกความเชื่อมโยงของจักระ ๒ ที่กำหนดไว้ที่ปลายนิ้วโป้ง เดี๋ยวเราจะเห็นว่าลีลาการจีบนิ้วของมุทรา ใช้นิ้วโป้งเป็นฐานเสมอ นั่นคือการเข้าระบบฝึกสมาธิด้วยการดึงลมหายใจ จะกำหนดจิตกำหนดใจไปที่จุดไหนในร่างกาย ลมต้องสุดลงไปที่ท้องน้อย ขังอยู่ที่ท้องน้อย ๒-๓ วินาทีนั่นเอง เราลองมาพิจารณากันในข้อต่อไป ขอบคุณแหล่งที่มาจาก หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง 👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇 👇สามารถเข้...

วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ตอนที่๑ มูลธาร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
  วิธีการดึงลมหายใจบริหารจักระทั้ง ๗ ด้วยมุทรา ๑. มูลธาร (Muladhara) หรือ กุณฑาลินี (Kundalini) หรือ เซอร์เพนทีน(Serpentine) สัญลักษณ์แทนคือดอกบัว ๔ กลีบ สีแดง ตำแหน่งอยู่ตรงกลางฝีเย็บระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เป็นขุมพลังของแต่ละชีวิต ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากงูไฟ หรือกุณฑาลินี ที่ผุดขึ้นมาจากใจกลางโลกและแผ่ขึ้นมาบนผืนดินบริเวณที่มีความร้อนเช่น ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน หรือผ่านต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้ กล่าวกันว่า เวลาที่เรามีเรี่ยวแรงทำอะไรอย่างมหาศาล เช่น ตกใจบ้านไฟไหม้แล้วยกตู้เย็นคนเดียวได้ หรือ วิ่งหนีอะไรสักอย่างได้เป็น 10 กิโล เพราะคิดว่าเห็นผี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังจากมูลธารจักระทั้งสิ้น ควบคุมการทำงานของ ต่อมลูกหมาก เพศ และระบบสืบพันธุ์ ในความเชื่อมโยมของมุทรา จักระ ๑ อยู่ที่บริเวณข้อมือ ในลักษณะของมุทราจะเห็นว่า จักระ ๑ ไม่สามารถกำหนดรูปลักษณ์ทางนิ้วมือได้ นั่นเพราะจักระนี้เป็นเสมือนขุมพลังในจักรวาล หลักในการฝึกเราจะไม่กระตุ้นให้จักระ ๑ ตื่นด้วยวิธีกำหนดสมาธิ หรืออะไรที่ไปรบกวน เพราะในภาษานักฝึกจักระจะเรียกว่าการตื่น จักระนี้จะตื่นด้วยตัวเอง และเป็นฐานรากส...

มุทรากับจักระทั้ง ๗ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       เรื่องของมุทรา เผื่อใครที่สนใจให้นำไปเป็นแนวทางการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวคุณเอง กล่าวกันว่า ที่มือของคนเราเสามารถเชื่อมโยงจุดสำคัญบนร่างกายทั้งหมด ๗ จุดด้วยกัน หรือที่รู้จักในนาม จักระทั้ง ๗ คำว่าจักระ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “กงล้อ” เมื่อถูกนำมาตีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับศาสตร์ของการฝึกสมาธิเพื่อดูดซับพลังในห้วงจักรวาลที่หลั่งไหล ลงมาพื้นโลก และขุมพลังแห่งพื้นโลกที่พวยพุ่งขึ้นไปสู่จักรวาล คำว่าพลังจักรวาล จึงหมายถึง “วัฏจักรแห่งชีวิต” เป็นพลังงานที่หมุนวน สับเปลี่ยน ไม่มีที่สิ้นสุด และยังปรากฎในคัมภีร์พระเวทย์ของอินเดียโบราณ (อินโด-อารยัน) ที่สืบทอดกันมาอีกด้วย โดยพลังงานที่หลั่งไหลมาจากห้วงจักรวาลนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ เป็นพลังงานศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจขับเคลื่อนเอกภพ หรือเหนือจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถกำหนดได้ และเป็นพลังที่ถ่ายทอดมาจากมหาเทวีอาทิศักติผู้ยิ่งใหญ่ ทางอินเดียจึงเรียกพลังนี้ว่า “พลังศักติ” ถ้าเป็นแถบอียิปต์โบราณ ซึ่งต่อมาถูกเผยแพร่ในยุโรปและอเมริกา ในชื่อ “พลังคอสมิค” หรือคนไทยเรียกว่าพลังกายทิพย์ ซึ่งพอพูดมาถึงตรง...

ที่มาของลักษณะมือของพระพุทธองค์ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
     ลักษณะมือเวลาทำสมาธิ ท่านอาจจะเคยสงสัยว่า ลักษณะมือของพระพุทธองค์ หรือพระพุทธรูปทำไมมีหลากหลาย แบ่งออกเป็นปางต่าง ๆ นั่นก็เพื่อให้สอดคล้องกับพุทธประวัติตอนใดตอนหนึ่ง แต่ท่าทางพระหัดถ์ที่แสดงแตกต่างกันนั้นในบางส่วนมีที่มาจาก “มุทรา” โดยบันทึกคำว่ามุทรา หรือ มูดราส (Mudra) เป็นท่ามือที่ใช้เพื่อกระตุ้นสภาวะจิตใจ เป็นวิถีเก่าแก่ของอินเดียโบราณ ในพระพุทธรูปที่เป็นศิลปะอินเดียยุคแรก ๆ ลักษณะมือที่ปรากฎ  เป็นมุทราให้เห็นผ่านพระพุทธรูป ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ภูมิสปรศมุทรา), ปางสมาธิ (ธยานมุทรา), ปางปฐมเทศนา (ธรรมจักรมุทรา), ปางทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา), ปางประทานอภัย (อภัยมุทรา) และปางประทานพร (วรมุทรา) ส่วนคำว่าปางนี้หมายถึงครั้งนั้น คราวนั้น กล่าวให้ระลึกถึงพุทธประวัติ เช่น ปางมารวิชัย หมายถึง เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงชนะพญาวสวัตตีมารนั่นเอง      ในลักษณะการวางมือ การจรดนิ้วของพระพุทธรูปหลายปาง คือรูปแบบของมุทราหรือเรียกกันอีกอย่างว่าปางมือ เช่นปางสมาธิ คือใช้มือขวาทับมือซ้าย นิ้วโป้งชิดติดกัน นั่นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปปางสม...