บทความ

"พญานาค" เป็นเดรัจฉาน ไม่สมควรกราบไหว้ จริงหรือไม่??

รูปภาพ
“พญานาค” ตำนานที่อยู่คู่กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงมานาน ไม่ว่าจะเป็น ไทย ลาว กัมพูชา และมูลเหตุที่ว่า พญานาคเป็นเดรัจฉานที่ไม่สมควรกราบไหว้ จริงหรือไม่? วันนี้เรามาคิดภาพตามกันทีละฉาก ทีละตอนแบบมีสติพิจารณาร่วมกันนะครับ ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนเลยว่า พื้นฐานที่มาของความเชื่อนั้น เกิดกับทุกศาสนาบนโลก เพราะหากมนุษย์ไม่เชื่อในคำสอนของศาสดา ก็ไม่สามารถน้อมนำการนับถือศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ศาสนาพุทธเชื่อในการเคยมีอยู่ของพระพุทธเจ้า และน้อมนำหลักคำสอนมาใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งก็พบว่าน้อยมากนะครับในปัจจุบัน รู้ทฤษฎีและข้อธรรมไว้ตบหน้ากัน แต่ปฏิบัติกันแทบไม่ได้ กลายเป็นกระแสสังคมที่สร้างความดราม่า ปรามาสกันไปมาแบบสวมหัวโขนก็มีให้เห็นมากมาย ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่เชื่อการมีอยู่ของอาตมัน ที่หมายถึงตัวตนหรือดวงวิญญาณ หรือเชื่อในปรมาตมัน คือเชื่อว่าเป็นอาตมันสูงสุด อันเป็นต้นกำเนิด และจุดศูนย์รวมของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งในทางพุทธศาสนาได้ฉีกหลักคำสอนของพราหมณ์-ฮินดูออกมาเป็น วิญญาณไม่ใช่ตัวตน และการหลุดพ้นคือปรินิพพาน นอกจากนี้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยังเชื่อในการมีอยู่ของ

รับขันธ์ คืออะไร

รูปภาพ
  #รับขันธ์ คืออะไร? ... ขันธ์ในทางพุทธศาสนา หมายถึง รูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่การรับขันธ์ในทางไสยศาสตร์ หรือศาสตร์แห่งไสย จะว่าด้วยไศว หรือไศย ก็ตาม นั้นมาจากอารยธรรมขอมโบราณ ที่ผสมผสานศาสนาผีและพราหมณ์เข้าไว้ด้วยกัน ลักษณะของขันธ์ คือการรับขัน (ขันที่เป็นภาชนะนี่แหละ) โดยอิงหลักของรูปธรรมและนามธรรมของคนรับกับ ผี เทวดาเบื้องล่าง เจ้าแม่ เจ้าพ่อ เจ้าที่เจ้าทาง ผีฟ้า ฯลฯ ผสานรวมร่าง และน้อมนำเข้ามาสู่ตัว อุทิศร่างของตนเป็นทางผ่านให้ผีสางเทวดาเหล่านั้นใช้เป็นสังขารชั่วคราว เพื่อทำกิจทางโลก อันเป็นผลแห่งกิเลสทั้งปวง ปัจจุบัน เหล่าหมอดูร่างทรงไม่มีความรู้มากพอ รวมถึงครูบาอาจารย์ แม้กระทั่งสงฆ์นอกรีตทั้งหลาย ก็จะนำเอาพิธีรับขันธ์ มาตีออกเป็น ขันธ์ ๕, ขันธ์ ๘, ขันธ์ ๑๖ แล้วก็มโนเอาว่า คือการให้คนรับนั้นรักษาศีล เช่น ขันธ์ ๕ คือรักษาศีล ๕ ข้อ, ๘ ข้อ และ ๑๖ ข้อ เรียกได้ว่าเป็นการรีมิกซ์ความเชื่อแบบแนบเนียนครับ เอาพิธีพราหมณ์เข้าวัด เอาพิธีผีเข้าโบสถ์ ทำกันจนเห็นเป็นเรื่องปกติวิสัยไป โดยส่วนตัวผมมองว่า จะต่างศาสนา ต่างวิถี ต่างความเชื่อ เป็นเรื่องนานาจิตต

เถียงกันเอาเป็นเอาตาย เรื่อง "บั้งไฟพญานาค" จริง หรือปลอม ใครได้ประโยชน์? หรือควรโทษใคร?

รูปภาพ
  "ในขณะที่คนไทยเห็นขึ้นจากฝั่งลาว คนลาวก็เห็นขึ้นจากฝั่งไทย แล้วสรุปใครควรรับผิดชอบ ความเชื่อคนลาวเขาไม่ทำร้ายคนของเขา แต่ความเชื่อคนไทย กำลังทำร้ายกันเอง แล้วมันสมควรหรือไม่ที่จะให้เขามารับผิดชอบความเชื่อของตัวเอง และยัดเยียดคำว่างมงาย กบในกะลา ให้กับผู้ไปร่วมงานออกพรรษา รวมถึงสาเหตุของความงมงายคือชาวลาว .. งั้นหรือ?"  งานบุญออกพรรษา " #บั้งไฟพญานาค " กลายเป็นข้อถกเถียงและเป็นประเด็นในโลกโซเชียลอย่างดุเดือดเกี่ยวกับการท้าพิสูจน์ หรือการงัดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาฟาดฟันเชือดเฉือนความเชื่อดั้งเดิมที่กลายเป็นความงมงาย การพยายามเปิดเผยความจริงเพื่อให้คนไทยตื่นรู้ถึงสิ่งที่เป็นจริง สิ่งที่เป็นเท็จ ใครเป็นผู้ได้ประโยชน์? หรือคนที่ต้องการลบล้างความเชื่อเหล่านี้เพื่อจุดประสงค์อะไร? เรามาลองพิจารณากันดังนี้ ก่อนอื่นผู้เขียนขอเล่าประสบการณ์ตรงที่เคยไปชมบั้งไฟพญานาคเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2554 ให้ทุกคนได้ฟังกันเสียก่อน เพื่อให้เป็นแนวทางในการลำดับเรื่องราวเหล่านี้  ซึ่งในครั้งนั้น ผู้เขียนนั่งเครื่องไปลงอุดรฯ แล้วต่อรถทัวร์ไปหนองคาย เพื่อนั่งรถสองแถวไปวัดไทยโพนพิสัย ด้วยใจอยากไปเห็

เคล็ด ลาง อาถรรพ์ โบราณเขาถือ "ความเชื่อ" vs. "ความงมงาย" ของไทย

รูปภาพ
  ทุกประเทศ ล้วนมีตำนานความเชื่อที่ต่างกัน อย่างเช่นที่เราคุ้ยเคยเกี่ยวกับความเชื่อในประเทศไทยของเรา ที่ยังคงความเหลื่อมล้ำแตกต่างระหว่างภาค หรือแม้กระทั่งความเชื่อที่สืบทอดมาจากชาติพันธุ์ ซึ่งในบทสรุปของเคล็ดลางอาถรรพ์นั้น มีอยู่อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จิ้งจกร้องทัก ตุ๊กแกร้อง นกบินเข้าบ้าน ลักษณะของแมวเลี้ยง สัตว์ตัดผ่านหน้ารถ ฝันเวลาไหนที่จะเป็นลางสังหรณ์ ดังนั้น คำว่าเคล็ด ลาง จึงมักได้ยินควบคู่กันไป คือหากประสบลางร้าย ก็ให้แก้เคล็ดให้ร้ายกลายเป็นดี หรืออาจหมายรวมถึง เคล็ดในการที่จะทำบางสิ่งให้สำเร็จ เคล็ดในการสร้างสิ่งมงคล โดยถูกบันทึกไว้จากครูบาอาจารย์รุ่นเก่า แต่ในโลกยุคปัจจุบันมนุษย์ฉลาดขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ความสะดวกสบายมากขึ้น แม้กระทั่งการค้นหาข้อมูลก็ง่ายเพียงพลิกฝ่ามือที่ถือโทรศัพท์อยู่ แล้วเปิดค้นหาได้ตามที่ใจต้องก าร ทำให้ความเชื่อในเรื่องเคล็ด ลาง อาถรรพ์ ลดน้อยลงไปบ้าง ซึ่งในส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าเหมาะ สม กับวิถีชีวิตในปัจจุบัน เพราะเคล็ดลางโบราณดังกล่าว บ่อยครั้งที่บรรพบุรุษท่านแฝงกุศโลบายไว้ภายในเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านของคุณย่าผู้เขียน "ถ้ามีใครมาเคาะป

ทำความรู้จักกับ "ข้าวเปลือกพิรอด" ของทนสิทธิ์ที่หาได้เหมือนจะง่ายแต่ไม่ใช่

รูปภาพ
  หลายคนอาจจะเคยได้ยินตำนานเล่าขานเกี่ยวกับความเชื่อของสิ่งที่มีพลังในตนเองโดยธรรมชาติ มีอำนาจวิเศษโดยที่ไม่ต้องผ่านพิธีกรรมใดๆ เราเรียกกันว่า "ทนสิทธิ์" (อ่านว่า ทน - สิทธิ์) ซึ่งคำนี้ก็ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด อาจจะเป็นคำสมาสที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มผู้เรืองเวทย์ก็เป็นได้ ในความหมายตีได้ว่า ความสำเร็จอันมาจากความอดทน หรือความสำเร็จในด้านคงทน คงกระพัน ก็เป็นไปได้เช่นกัน  สำหรับข้าวเปลือกพิรอด ก็จัดเป็นของทนสิทธิ์อีกอย่างที่ครูบาอาจารย์ท่านแสวงหาไว้ครอบครอง กล่าวกันว่า หากตักข้าวสวยขึ้นมายังมิทันเข้าปาก พบเห็นเมล็ดข้าวเปลือกสมบูรณ์ผิวสวยเนียน นั่นคือความโชคดีอย่างที่สุดที่ท่านได้พบกับข้าวเปลือกพิรอดตามตำรา ซึ่งผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวเปลือกพิรอดได้แพร่หลายก็น่าจะเป็น  หลวงพ่อเดิม พุทธสโร หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์ แต่ด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะพบได้โดยบังเอิญเสมอไป เมื่อใดก็ตามที่คุณพยายามที่จะหุงข้าวให้พบข้าวเปลือกพิรอด เมื่อนั้นข้าวที่พบจะไม่พิรอดถูกต้องตามตำราอย่างที่สุด เมื่อกล่าวเช่นนี้ การที่เราท่านจะพบ หรือเก็บข้าวเปลือกพิร

อักษรรูน (Runes) คืออะไร? และความหมายอักษรรูนโดยย่อ

รูปภาพ
   "อักษรรูนส์"  ถูกกล่าวถึงอีกครั้งจากซีรี่ส์เรื่องดัง "ไวกิ้ง" ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตำนานเกี่ยวกับอักษรรูนส์นั้น มีมานานนับพันปี กับศาสตร์การทำนายอนาคตที่แม่นยำ บวกกับพลังความขลังจากอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว อันเป็นที่ยอมรับของชาวยุโรปเหนือ หรือกลุ่มประเทศนอร์ดิก แถบสแกนดิเนเวีย เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมากจากศาสนาที่ถูกตีความเป็นลัทธินอกรีด เมื่อคริสตจักรเข้าไปเผยแพร่ในแถบนั้น หรือที่รู้จักกันในนาม ศาสนาอาซาทรู เกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากตำนานเทพเจ้านอร์ส อันเป็นที่เคารพบูชาของเหล่าไวกิ้งโบราณ ผู้สืบเชื้อสายมาจากอาซาทรูเออร์ทั้งหลาย ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อกล่าวถึงเทพเจ้า ย่อมมีแหล่งที่มาแตกต่างกัน อย่างเช่นประเทศไทยเรา จะคุ้นชินกับมหาเทพของพราหมณ์-ฮินดู อันมีพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม เป็นองค์ประธาน หรือจะเป็นเทพเซียนทางแถบตะวันออก เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้ากวนอู ฯลฯ แต่หากมองเลยไปทางแถบกรีกโบราณ เราก็จะพบกับ เทพเจ้าซีอุส โพไซดอน อาเดส และเหนือขึ้นไปแถบประเทศนอร์ดิก ท่านก็จะพบกับตำนานเทพเจ้านอร์ส อันมีเทพเจ้าโอดิน และเทพีเฟรย่า เป็นพหุเทวนิยม แ