ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ (เชียงแสน) กับพิธีไหลเรือไฟบูชาพญานาค
ตำนานเมืองสุวรรณโคมคำกับพิธีไหลเรือไฟบูชาพญานาค (เชียงแสน)
ประวัติความเป็นมาของเมืองสุวรรณโคมคำ เมืองโบราณก่อนที่จะมาถึงโยนกนาคพันธุ์ และกลายมาเป็นนครเชียงแสน สุวรรณโคมคำ หรือสุวัณณะโคมคำ เป็นชื่อตำนานเมืองโบราณในเขตจังหวัดเชียงรายและทิศตะวันตกของประเทศลาว ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ริมแม่น้ำโขงฝั่งลาวตรงดอนมูล เยื้องปากแม่น้ำกกลงไปทางใต้เล็กน้อย อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านสวนดอก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
พระเจ้าสิริวงสา กษัตริย์ของนครโพธิสารหลวง (นครโคตปูระ หรือ โคตบูร หรือ สีโคตรตะบอง เขตเมืองท่าแขกประเทศลาวในปัจจุบัน ตรงข้ามกับนครพนมบ้านเรา) ทรงมีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกมีพระนามว่า อินทรวงศา และ องค์น้องพระนามว่า ไอยกุมาร
เมื่อพระบิดา (พระเจ้าสิริวงสา) สวรรคต ราชโอรสองค์โตอินทรวงศาก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ และองค์รองเป็นมหาอุปราช พระยาอินรวงศามีพระโอรส ทรงพระนามว่า พระยาอินทปฐม และพระยาไอยกุมารมีพระธิดา ทรงพระนามว่าพระนางอูรสา ต่อมาพระนางอูรสา (บุตรตรีของมหาอุปราชไอยกุมาร) และพระยาอินทปฐม (บุตรของพระยาอินทรวงศา) ผู้พี่ผู้น้องก็ได้อภิเษกสมรสกัน ครั้นพระยาอินทรวงศาสวรรคต พระยาอินทปฐมกุมาร ก็ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน
เมื่อนั้น พระยาไอยกุมาร ผู้เป็นอาและเป็นพ่อตา ได้สละตำแหน่งมหาอุปราช แล้วพาบริวารเดินเรือกลับขึ้นตามแม่น้ำโขง เป็นเวลา 3 เดือน จึงถึงเกาะเขิน ซึ่งตั้งอยู่ด้านซ้ายปากแม่น้ำกกทางทิศตะวันตก (เชียงแสน เชียงราย)
“เล่ามาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสับสนได้นะครับ ขออธิบายแบบนี้คือนครโพธิสารหลวงอยู่เมืองท่าแขกตรงข้ามกับนครพนมฝั่งขวาสุดของประเทศไทย ปากแม่น้ำกกอยู่ที่จังหวัดเชียงราย เหนือสุดของประเทศไทย โดยมีแม่น้ำโขงเป็นทางเชื่อม อันว่าแม่น้ำโขงนี้ก็ไหลมาจากทิเบต จีน (ชิงไห่) ผ่านสิบสองปันนา แวะมาโค้งตรงหัวประเทศไทยที่ริมขอบเชียงราย ผ่านลาว แล้วก็อ้อมขวาประเทศไทยไล่ลงไปเรื่อยตั้งแต่เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี แล้วก็ออกปากเซประเทศลาว ไหลต่อไปกัมพูชาแล้วก็ออกทะเลที่ประเทศเวียดนาม (ยาวมาก) ตรงนี้เมื่อกล่าวถึงพระยาไอยกุมาร ที่พาบริวารเดินเรือล่องขึ้นมาเรื่อย ๆ จากริมฝั่งนครพนมไล่ย้อนมาเชียงรายนั่นเอง”
พระยาไอยกุมาร จึงตัดสินใจตั้งราชนครที่เกาะเขิน อันประกอบด้วยครัวเรือนเบื้องต้น 3,000 ครัวเรือน ขณะนั้นข่าวดีก็ได้มาถึงพระองค์ว่า ราชธิดาของพระองค์ได้ให้ประสูติพระโอรส ที่มีเดชานุภาพตั้งแต่ประสูติ และเกิดอภินิหารขึ้นหลายอย่างในราชสำนักนครโพธิสารหลวง อันเป็นสาเหตุให้เหล่าเสนาอำมาตย์ และไพร่ฟ้าตื่นตระหนก กลัวว่าจะเกิดภัยพิบัติทำให้บ้านเมืองล่มจมได้
เมื่อเสนาอำมาตย์นำความเหล่านี้ขึ้นทูลถวายพระยาอินทปฐมกุมารผู้เป็นบิดา พระองค์เลยทรงรับสั่งให้เอาพระมเหสีอูรสาและราชบุตร ใส่แพลอยน้ำโขง เพื่อป้องกันภัยพิบัติจะมาถึงบ้านเมืองของตน
ครั้นเมื่อพระเจ้าไอยกุมารทรงทราบเรื่องนี้ ก็ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก ทรงรับสั่งให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทำการบวงสรวงจุดธูปจุดเทียน จุดโคมไฟ และ ทำพิธีบูชาประทีป เพื่อสักการะพญานาค ให้สว่างทั่วแม่น้ำโขงเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเพื่อขอให้พญานาคช่วยขวางเรือของพระธิดาและองค์กุมารน้อยเอาไว้ไม่ไหลสู่ลงทะเล เหตุนี้พญานาคราชผู้ทรงฤทธิ์ จึงช่วยสร้างหลี่ผีขึ้น ปรากฏเป็นดอนขี้นาคเพื่อกั้นลำน้ำโขง (หลี่ผี คอนพะเพ็ง อยู่ที่ลาวใต้สุดก่อนไหลสู่กัมพูชา) ทำให้แพของพระธิดาและองค์กุมารน้อยไหลทวนน้ำขึ้นไปที่เกาะเขิน อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าไอยกุมาร จึงทรงตั้งนามเมืองว่า “สุวรรณโคมคำ” อันหมายถึงพระนามของกุมารน้อยชื่อ สุวรรณมุขทวาร และการจุดประทีป จุดโคม สักการะพญานาคราชซึ่งเรียกว่า โคมคำ มารวมกันเป็นชื่อเมืองนั่นเอง
ตำนานยังบอกอีกว่า เมืองสุวรรณโคมคำนั้น เติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี บ้านเรือนของไพร่พลก็มีถึง 100,000 หลังคาเรือน แต่ชาวเมืองสุวรรณโคมคำมีความประพฤติที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพ่อค้า ซึ่งพ่อค้าเหล่านั้นเป็นพวกนาคชาวหลวงพระบาง (เชื่อกันว่าชาวหลวงพระบางเดิมคือชนเผ่านาค นำโดยพระยาศรีสัตนาคที่ครองเมืองหนองกระแสแสนย่าน ที่นำไพร่พลมาตั้งรกรากในหลวงพระบาง จึงเชื่อกันว่าชาวหลวงพระบางคือชาวนาค ซึ่งมองได้หลายความหมาย อาจจะเป็นที่เป็นเผ่านาค หรือนากาแลนด์ ที่เคยเล่าให้ฟังว่าไม่เป็นที่ยอมรับของชาวอารยัน อพยพมาตั้งรกรากที่หนองกระแส หรืออาจจะเป็นคนที่รับเอาอารยธรรมเผ่านาค หรือถูกเรียกเป็นพวกนาคก็ได้ หรือเป็นเชื้อสายพญานาคก็ว่าได้) ทำให้เกิดการขัดแย้งกัน ชาวหลวงพระบางจึงได้ยกกำลังมาบุกทำลายเมืองสุวรรณโคมคำจนราบ ทำให้ชาวเมืองแตกตื่นอพยพไปทั่วสารทิศ เช่น ไปศรีสัชนาลัย และหนีไปหลวงพระบาง และได้นำประเพณีไหลเรือไฟไปปฏิบัติด้วย
ต่อมายังมีเชื้อนาคตระกูลลาวจก คือ ลาวทางภาคเหนือของเชียงราย ได้มาสร้างนครสุวรรณโคมคำขึ้นอีกครั้ง ตามตำนานมีกำแพงเมืองรอบ 4 ด้าน และ แต่ละด้านยาว 3,000 วา ด้วยเหตุนี้ เมืองสุวรรณโคมคำที่สาบสูญไปแล้วจึงได้ชื่อเรียกใหม่ว่า เมืองนาเคนทรนคร หรือ นาคบุรี หรือ เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตนคร หรือ นครเชียงลาว เนื่องจากว่าชาวลาวภาคเหนือ (ชาวนาค) นครเงินยาง หรือ เงินยวง ต่อมาเมื่อพระยาแสนภูได้มาครองเมืองดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เชียงแสน”
ประวัติความเป็นมาของเมืองสุวรรณโคมคำ เมืองโบราณก่อนที่จะมาถึงโยนกนาคพันธุ์ และกลายมาเป็นนครเชียงแสน สุวรรณโคมคำ หรือสุวัณณะโคมคำ เป็นชื่อตำนานเมืองโบราณในเขตจังหวัดเชียงรายและทิศตะวันตกของประเทศลาว ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่ริมแม่น้ำโขงฝั่งลาวตรงดอนมูล เยื้องปากแม่น้ำกกลงไปทางใต้เล็กน้อย อยู่ตรงกันข้ามกับบ้านสวนดอก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
พระเจ้าสิริวงสา กษัตริย์ของนครโพธิสารหลวง (นครโคตปูระ หรือ โคตบูร หรือ สีโคตรตะบอง เขตเมืองท่าแขกประเทศลาวในปัจจุบัน ตรงข้ามกับนครพนมบ้านเรา) ทรงมีพระราชบุตร 2 พระองค์ องค์แรกมีพระนามว่า อินทรวงศา และ องค์น้องพระนามว่า ไอยกุมาร
เมื่อพระบิดา (พระเจ้าสิริวงสา) สวรรคต ราชโอรสองค์โตอินทรวงศาก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ และองค์รองเป็นมหาอุปราช พระยาอินรวงศามีพระโอรส ทรงพระนามว่า พระยาอินทปฐม และพระยาไอยกุมารมีพระธิดา ทรงพระนามว่าพระนางอูรสา ต่อมาพระนางอูรสา (บุตรตรีของมหาอุปราชไอยกุมาร) และพระยาอินทปฐม (บุตรของพระยาอินทรวงศา) ผู้พี่ผู้น้องก็ได้อภิเษกสมรสกัน ครั้นพระยาอินทรวงศาสวรรคต พระยาอินทปฐมกุมาร ก็ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน
เมื่อนั้น พระยาไอยกุมาร ผู้เป็นอาและเป็นพ่อตา ได้สละตำแหน่งมหาอุปราช แล้วพาบริวารเดินเรือกลับขึ้นตามแม่น้ำโขง เป็นเวลา 3 เดือน จึงถึงเกาะเขิน ซึ่งตั้งอยู่ด้านซ้ายปากแม่น้ำกกทางทิศตะวันตก (เชียงแสน เชียงราย)
“เล่ามาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสับสนได้นะครับ ขออธิบายแบบนี้คือนครโพธิสารหลวงอยู่เมืองท่าแขกตรงข้ามกับนครพนมฝั่งขวาสุดของประเทศไทย ปากแม่น้ำกกอยู่ที่จังหวัดเชียงราย เหนือสุดของประเทศไทย โดยมีแม่น้ำโขงเป็นทางเชื่อม อันว่าแม่น้ำโขงนี้ก็ไหลมาจากทิเบต จีน (ชิงไห่) ผ่านสิบสองปันนา แวะมาโค้งตรงหัวประเทศไทยที่ริมขอบเชียงราย ผ่านลาว แล้วก็อ้อมขวาประเทศไทยไล่ลงไปเรื่อยตั้งแต่เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี แล้วก็ออกปากเซประเทศลาว ไหลต่อไปกัมพูชาแล้วก็ออกทะเลที่ประเทศเวียดนาม (ยาวมาก) ตรงนี้เมื่อกล่าวถึงพระยาไอยกุมาร ที่พาบริวารเดินเรือล่องขึ้นมาเรื่อย ๆ จากริมฝั่งนครพนมไล่ย้อนมาเชียงรายนั่นเอง”
พระยาไอยกุมาร จึงตัดสินใจตั้งราชนครที่เกาะเขิน อันประกอบด้วยครัวเรือนเบื้องต้น 3,000 ครัวเรือน ขณะนั้นข่าวดีก็ได้มาถึงพระองค์ว่า ราชธิดาของพระองค์ได้ให้ประสูติพระโอรส ที่มีเดชานุภาพตั้งแต่ประสูติ และเกิดอภินิหารขึ้นหลายอย่างในราชสำนักนครโพธิสารหลวง อันเป็นสาเหตุให้เหล่าเสนาอำมาตย์ และไพร่ฟ้าตื่นตระหนก กลัวว่าจะเกิดภัยพิบัติทำให้บ้านเมืองล่มจมได้
เมื่อเสนาอำมาตย์นำความเหล่านี้ขึ้นทูลถวายพระยาอินทปฐมกุมารผู้เป็นบิดา พระองค์เลยทรงรับสั่งให้เอาพระมเหสีอูรสาและราชบุตร ใส่แพลอยน้ำโขง เพื่อป้องกันภัยพิบัติจะมาถึงบ้านเมืองของตน
ครั้นเมื่อพระเจ้าไอยกุมารทรงทราบเรื่องนี้ ก็ทรงโทมนัสเป็นอย่างมาก ทรงรับสั่งให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎรทำการบวงสรวงจุดธูปจุดเทียน จุดโคมไฟ และ ทำพิธีบูชาประทีป เพื่อสักการะพญานาค ให้สว่างทั่วแม่น้ำโขงเป็นเวลา 7 วัน 7 คืนเพื่อขอให้พญานาคช่วยขวางเรือของพระธิดาและองค์กุมารน้อยเอาไว้ไม่ไหลสู่ลงทะเล เหตุนี้พญานาคราชผู้ทรงฤทธิ์ จึงช่วยสร้างหลี่ผีขึ้น ปรากฏเป็นดอนขี้นาคเพื่อกั้นลำน้ำโขง (หลี่ผี คอนพะเพ็ง อยู่ที่ลาวใต้สุดก่อนไหลสู่กัมพูชา) ทำให้แพของพระธิดาและองค์กุมารน้อยไหลทวนน้ำขึ้นไปที่เกาะเขิน อันเป็นที่ประทับของพระเจ้าไอยกุมาร จึงทรงตั้งนามเมืองว่า “สุวรรณโคมคำ” อันหมายถึงพระนามของกุมารน้อยชื่อ สุวรรณมุขทวาร และการจุดประทีป จุดโคม สักการะพญานาคราชซึ่งเรียกว่า โคมคำ มารวมกันเป็นชื่อเมืองนั่นเอง
ตำนานยังบอกอีกว่า เมืองสุวรรณโคมคำนั้น เติบโตอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี บ้านเรือนของไพร่พลก็มีถึง 100,000 หลังคาเรือน แต่ชาวเมืองสุวรรณโคมคำมีความประพฤติที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพ่อค้า ซึ่งพ่อค้าเหล่านั้นเป็นพวกนาคชาวหลวงพระบาง (เชื่อกันว่าชาวหลวงพระบางเดิมคือชนเผ่านาค นำโดยพระยาศรีสัตนาคที่ครองเมืองหนองกระแสแสนย่าน ที่นำไพร่พลมาตั้งรกรากในหลวงพระบาง จึงเชื่อกันว่าชาวหลวงพระบางคือชาวนาค ซึ่งมองได้หลายความหมาย อาจจะเป็นที่เป็นเผ่านาค หรือนากาแลนด์ ที่เคยเล่าให้ฟังว่าไม่เป็นที่ยอมรับของชาวอารยัน อพยพมาตั้งรกรากที่หนองกระแส หรืออาจจะเป็นคนที่รับเอาอารยธรรมเผ่านาค หรือถูกเรียกเป็นพวกนาคก็ได้ หรือเป็นเชื้อสายพญานาคก็ว่าได้) ทำให้เกิดการขัดแย้งกัน ชาวหลวงพระบางจึงได้ยกกำลังมาบุกทำลายเมืองสุวรรณโคมคำจนราบ ทำให้ชาวเมืองแตกตื่นอพยพไปทั่วสารทิศ เช่น ไปศรีสัชนาลัย และหนีไปหลวงพระบาง และได้นำประเพณีไหลเรือไฟไปปฏิบัติด้วย
ต่อมายังมีเชื้อนาคตระกูลลาวจก คือ ลาวทางภาคเหนือของเชียงราย ได้มาสร้างนครสุวรรณโคมคำขึ้นอีกครั้ง ตามตำนานมีกำแพงเมืองรอบ 4 ด้าน และ แต่ละด้านยาว 3,000 วา ด้วยเหตุนี้ เมืองสุวรรณโคมคำที่สาบสูญไปแล้วจึงได้ชื่อเรียกใหม่ว่า เมืองนาเคนทรนคร หรือ นาคบุรี หรือ เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตนคร หรือ นครเชียงลาว เนื่องจากว่าชาวลาวภาคเหนือ (ชาวนาค) นครเงินยาง หรือ เงินยวง ต่อมาเมื่อพระยาแสนภูได้มาครองเมืองดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เชียงแสน”
---------------------
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ
พญานาค จากตำนานสู่ความเชื่อ
ดูรีวิวและช่องทางการสั่งซื้อ << คลิก >> 👇
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น