"ปางมือ" ไขตำนานการจีบมือ ต้นแบบท่าร่ายรำ

หลายคนอาจจะสงสัยไม่ต่างจากผมนะครับว่า ลักษณะการจีบมือของรูปปั้นพระโพธิสัตว์ หรือเทวรูปของเหล่าเทพเซียนในนิกายมหายาน ว่าทำไมถึงมีลักษณะการจีบมือละม้ายคล้ายคลึงกับท่ารำของนาฎศิลป์ไทย และบ่อยครั้งที่เราจะเห็นลักษณะการจีบมือแบบเดียวกันในภาพยนต์เทพฮินดูของประเทศอินเดียเสียด้วย วันนี้เรามาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันนะครับ ว่า ลักษณะการจีบมือนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร ใน

#เปิดตำนานการจีบมือ

ปางมือ

กล่าวกันว่า ลักษณะการจีบมือของพระโพธิสัตว์ หรือเทพเซียนมหายานนั้น มาจากการสื่อความหมายของจักระทั้ง 7 ซึ่งก็ต้องเท้าความกันก่อนนะครับว่า “อะไรคือจักระ”

#ไขข้อข้องใจ “จักระ” คืออะไร

คำว่าจักระ มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า “กงล้อ” เมื่อถูกนำมาตีความเชื่อมโยงสอดคล้องกับศาสตร์ของการฝึกสมาธิเพื่อดูดซับพลังในห้วงจักรวาลที่หลั่งไหลลงมาพื้นโลก และพลังแห่งพื้นโลกที่พวยพุ่งขึ้นไปสู่จักรวาล  คำว่าพลังจักรวาล จึงหมายถึง “วัฏจักรแห่งชีวิต” เป็นพลังงานที่หมุนวน สับเปลี่ยน ไม่มีที่สิ้นสุด และยังปรากฎในคัมภีร์พระเวทย์ของอินเดียโบราณ (อินโด-อารยัน) ที่สืบทอดกันมาอีกด้วย โดยพลังงานที่หลั่งไหลมาจากห้วงจักรวาลนี้ เรียกได้ว่าเป็นพลังบริสุทธิ์ เป็นพลังงานศักดิ์สิทธิ์ ถ้าทางอินเดียก็จะเรียกว่า “พลังศักติ” ถ้าเป็นแถบอียิปต์โบราณ ซึ่งต่อมาถูกเผยแพร่ในยุโรปและอเมริกา ในชื่อ “พลังคอสมิค” หรือพลังกายทิพย์ ทางโซนเอเชียตะวันออกอย่างประเทศจีนเรียกว่า “พลังลมปราณ” และในประเทศไทยเราเรียกว่า “พลังจักรวาล” 


จักระทั้ง 7


จักระทั้ง 7 มีอะไรบ้าง 

1. มูลธาร (Muladhara) หรือ กุณฑาลินี (Kundalini) หรือ เซอร์เพนทีน (Serpentine) สัญลักษณ์แทนคือดอกบัว 4 กลีบ สีแดง ตำแหน่งอยู่ตรงกลางฝีเย็บระหว่างอวัยวะเพศและทวารหนัก เป็นขุมพลังของแต่ละชีวิต ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากงูไฟ หรือกุณฑาลินี ที่ผุดขึ้นมาจากใจกลางโลกและแผ่ขึ้นมาบนผืนดินบริเวณที่มีความร้อนเช่น ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน หรือผ่านต้นไม้ใหญ่ขึ้นมาก็เป็นได้ กล่าวกันว่าเวลาที่เรามีเรี่ยวแรงทำอะไรอย่างมหาศาล เช่น ตกใจบ้านไฟไหม้แล้วยกตู้เย็นคนเดียวได้ หรือ วิ่งหนีอะไรสักอย่างได้เป็น 10 กิโล เพราะคิดว่าเห็นผี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพลังจากมูลธารจักระทั้งสิ้น ควบคุมการทำงานของ ต่อมลูกหมาก เพศ และระบบสืบพันธุ์


2. สวาธิษฐาน (Swadhisthana) สัญลักษณ์คือดอกบัว 6 กลีบ สีส้ม อยู่ตำแหน่งใต้สะดือเหนืออวัยวะเพศตัดไปถึงปลายสุดก้นกบ ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และกระจายพลังที่ได้รับออกไปยังอวัยวะต่าง ๆ ควบคุมการทำงานของตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก


3. มณีปุระ (Manipura) สัญลักษณ์คือดอกบัว 10 กลีบ สีเหลือง ตำแหน่งบริเวณบั้นเอว ตรงกับแนวสะดือ เป็นศูนย์กลางของอารมณ์ ความทะยานอยาก ความต้องการที่ไม่ผ่านการขัดเกลา เป็นขุมกักเก็บพลังงานภายในร่างกาย  ควบคุมการทำงานของ ท้อง ตับ กระเพาะอาหาร ลำใส้ ระบบการย่อยอาหารและการขับถ่าย 


4. อนาหตะ (Anahata) สัญลักษณ์คือดอกบัว 12 กลีบ สีเขียว อยู่ตำแหน่งกลางกระดูกสันหลังแนวเดียวกับหัวใจตัดผ่านมากลางหน้าอก เป็นขุมพลังแห่งความรัก ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย การให้อภัย ควบคุมการทำงานของหัวใจ การหายใจ มีคุณสมบัติ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง


5. วิสุทธิ (Vishuddha) สัญลักษณ์คือดอกบัว 16 กลีบ สีฟ้าเข้ม ตำแหน่งกระดูกต้นคอตัดมาที่ลำคอเหนือกล่องเสียง ควบคุมระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ คอ ปาก ลิ้น


6. อาชณะจักระ (Ajna) สัญลักษณ์คือดอกบัว 2 กลีบ สีน้ำเงินคราม ตำแหน่งอยู่ศูนย์กลางหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง หรือตำแหน่งตาที่สาม ควบคุมการทำงานของสมองส่วนล่างและระบบปราสาท การรับรู้ด้วยการมองเห็น และการได้ยิน 


 7. สหัสธาร (Sahasrara) สัญลักษณ์คือดอกบัว 1,000 กลีบ สีม่วงตำแหน่งอยู่กลางกระหม่อมศีรษะ สัมพันธ์กับจิตใต้สำนึก ตำราฮินดูเชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางสูงสุดที่ใช้เชื่อมต่อกับเทพเจ้า ทำหน้าที่ดูดซับพลังงานจากห้วงจักรวาล พลังศักติ หรือพลังคอสมิก และส่งผ่านกระจายไปทั่วร่างกาย ควบคุมการทำงาน และสั่งการของสมองส่วนกลาง


นอกจากนี้ จุดจักระต่าง ๆ ยังเชื่อมโยงไปถึงฝ่ามือของมนุษย์เราอีกด้วย โดยที่ฝ่ามือสามารถสัมผัสพลังงานและถ่ายทอดได้ดีมาก ความเชื่อมโยงของจักระและฝ่ามือ ก็จะมีดังนี้ครับ


1.จักระที่ 1 ข้อมือ

2.จักระที่ 2 ปลายนิ้วโป้ง

3.จักระที่ 3 ปลายนิ้วกลาง

4.จักระที่ 4 ปลายนิ้วก้อย

5.จักระที่ 5 ปลายนิ้วชี้

6.จักระที่ 6 ปลายนิ้วนาง

7.จักระที่ 7 ตรงกลางฝ่ามือ


และเมื่อมีการจีบมือ จึงสามารถสื่อถึงการแสดงออกของพลังงานต่าง ๆ อีกเช่นกัน โดยที่ 



1. นิ้วโป้งจีบนิ้วชี้ หมายถึง การใช้ปัญญา การกระตุ้นปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมาธิ


2. นิ้วโป้งจีบนิ้วกลาง หมายถึง การบำบัดรักษา ความอุดมสมบูรณ์ การโปรดสัตว์ และความเจริญในโภคทรัพย์สมบัติ




3. นิ้วโป้งจีบนิ้วนาง หมายถึง การสื่อสารกับองค์ความรู้นอกโลก (ห้องสมุดแห่งจักรวาล) หรือการเชื่อมโยงต่อคุรุภายใน การหยั่งรู้พิเศษและการเกิดจิตเหนือสำนึก


4. นิ้วโป้งจีบนิ้วก้อย หมายถึง การสื่อสารบนพื้นโลกทุกชนิด เช่น จิตวิญญาณ พลังงานรอบตัว สัตว์ ต้นไม้ คนทั่วไป 

และท่าทางการจีบนิ้วในลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ หลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อเรียกของมุทรา (Mudra) หรือปางมือ เป็นการทำเครื่องหมายด้วยมือและนิ้วทั้งห้า ซึ่งเป็นพื้นฐานความรู้ของลัทธิตันตระ นิกายหนึ่งของพุทธมหายาน ต้นกำเนิดก็สืบทอดมาจากหลักการฝึกบำเพ็ญตนของเหล่านักบวช ฤาษี และมีรูปแบบของปางมือถึง 108 ลักษณะด้วยกัน แนวคิดนี้แพร่หลายในทิเบต ภูฎาน โดยนอก จากความเชื่อมโยงของจักระทั้ง 7 แล้ว มุทรา ยังสื่อถึงนิ้วมือที่แทนธาตุต่างทั้ง 5 ดังต่อไปนี้

1. นิ้วหัวแม่มือ แทนธาตุไฟ

2. นิ้วชี้ แทนธาตุลม

3. นิ้วกลาง แทนธาตุอากาศ

4. นิ้วนาง แทนธาตุดิน

5. นิ้วก้อย แทนธาตุน้ำ

บางตำราก็จะแทนธาตุลมกับอากาศ ด้วยธาตุไม้และธาตุทอง เป็นต้น



ต่อมามุทราได้ถูกถ่ายทอดมาสู่สยามประเทศ พร้อมกับการปรากฏกายของพระโพธิสัตว์ และพระวัชรสัตว์ต่างๆ ในพุทธแบบมหายานที่เข้ามาทางตอนใต้บริเวณแหลมมลายู และการจีบมือในลักษณะต่าง ๆ นี้ ก็เป็นต้นกำเนิดท่าร่ายรำในตำรานาฏยศาสตร์ไทยนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ทั้งนั้น ท่วงท่าลีลา ต่างก็สืบเนื่องมาจากท่าร่ายรำของพระศิวะ ที่ทรงเมตตาประทานพร โดยการเสด็จไปฟ้อนรำให้มนุษย์โลกได้ชมเป็นบุญตา ณ ตำบลจิดรัมบรัม หรือจิทัมพรัม ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ท่วงท่าที่งดงามถึง ๑๐๘ ท่า เป็นที่แพร่หลาย และรู้จักกันในชื่อ “ศิวะนาฏราช” นั่นเอง 



และนี่ก็คือสาเหตุที่ว่า ทำไมลักษณะการจีบมือของรูปปั้นพระโพธิสัตว์ จึงละม้ายคล้ายคลึงกับท่ารำของนาฏศิลป์ไทยครับ


👇👇👇👇👇👇👇👇

Saiheal Bookstore and Crafts






ความคิดเห็น

คนชอบอ่าน

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ วานส์” (QUEEN OF WANDS)

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ เพนตาเคิลส์” (QUEEN OF PENTACLES)

ความหมายของไพ่บุคคล คิง ออฟ คัพส์ (KING OF CUPS)

ความหมายของไพ่ "เดอะ เวิลด์" (THE WORLD) สอนอ่านไพ่ยิปซี