มาฝึกวิธีการหายใจด้วยหนังสือ "ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต

 


     ในที่สุดหนังสือปราณวิถีเล่มนี้ก็ถูกเขียนขึ้นจนได้ จากที่ชั่งจิตชั่งใจอยู่นาน ว่าถ้าเขียนไปแล้ว จะมีกระแสตอบรับอย่างไร แต่พอเห็นกลุ่มคนที่สนใจพยายามค้นคว้าหาคำตอบเกี่ยวกับเกี่ยวกับศาสตร์แขนงนี้จึงคิดได้ว่า ด้วยพื้นฐานที่เรามี ก็พอจะหยิบฉวยมาเล่าสู่กันฟังได้บ้างไม่มากก็น้อย

     สำหรับศาสตร์วิชาปราณ มีแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไปตามสำนักต่างๆ แต่โดยหลักการแล้ว ถูกจำแนกมาจากรากเหง้าเดียวกันคือฝึกสมาธิแบบโบราณผสานท่าทางกายบริหารแทบทั้งหมด จะต่างกันก็ตรงวิธีการที่อาจจะมีเทคนิคสอดแทรกเพื่อให้ผลสำเร็จเป็นไปตามที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งในปัจจุบัน มีผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจังอยู่ทั่วโลกจึงมีแนวทางสากลเกิดขึ้นมาบ้าง แต่ก็ล้วนมาจากนักเขียนแต่ละยุคสมัย ที่จะศึกษา วิเคราะห์ แยกแยะ และสังเคราะห์ข้อมูลออกมาอย่างไร

     ส่วนตัวผู้เขียนเองเคยมีการเรียนและฝึกทั้งวิชาปราณจักระ และวิชาปราณชี่มาบ้างจากการลงทะเบียนฝึกอบรมแบบเสียเงิน และครูพักลักจำจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายท่าน ซึ่งก็จากโลกไปด้วยวัยอันสมควรหมดสิ้นแล้วจึงทำการศึกษาเพิ่มเติมอย่างมาก เพื่อให้ออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้...(ไป๋ล่ง)

     “ปราณายามะ (Pranayama) ในภาษาสันสกฤต คำนี้จะวนเวียนผูกพันอยู่กับเหล่าผู้ฝึกโยคะ ซึ่งหมายถึงการควบคุมลมหายใจ โดยเหล่าผู้ฝึกโยคะ จะทราบดีว่า จะต้องกระทำควบคู่กันไปทั้งทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ วิชาการฝึกแบบโยคะนี้ มีต้นกำเนิดอยู่ในอารยธรรมอินเดียโบราณย้อนไปประมาณ 5,000 ปีก่อน จากข้อสันนิษฐานของ นักประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในคัมภีร์พระเวท เป็นการฝึกฝนเพื่อผสานลมหายใจเข้ากับท่วงท่าต่าง ๆ ซึ่งแตกแยกแบ่งสายกันไปตามสำนัก”

ท่านจะได้อะไรจากหนังสือเล่มนี้
-ปรับพื้นฐานการฝึกลมหายใจ
-ฝึกระบบปราณจักระกับมุทราสูตร
-ฝึกระบบปราณชี่ (Qi) วิถีธรรมชาติ
-ฝึกแนวคิด Visualize to Manifest
-ทำกายบริหารพร้อมการฝึกลมหายใจ(แบบง่าย) 
-การนำวิถีปราณมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

(วิดิโอแนะนำหนังสือ)


สารบัญ
เกริ่นนำ


ปฐมบท>>ปรับพื้นฐานสำหรับผู้ฝึกอบรม
        ตอนที่1 ปราณคืออะไร
        ตอนที่2 ต้นกำเนิดการฝึกปราณ
        ตอนที่3 ปราณกับพุทธศาสนา
        ตอนที่4 หลักแนวคิดการฝึกปราณวิถี


ทุติยบท>>วิถีการฝึกปราณกับระบบการทำงานของร่างกาย
        ตอนที่5 ระบบการหายใจกับการฝึกปราณ
                วิธีการฝึกลมหายใจที่ถูกต้อง
                การแลกเปลี่ยนแก๊สในรา่งกาย
                ส่วนประกอบที่าำคัญของเลือด
                ภาพประกอบกระบวนการไหลเวียนของโลหิต
        ตอนที่6 วิถีปราณกับรังสีคอสมิก Cosmic Rays
        ตอนที่7 ปราณจักระกับการหลอมรวมจิตวิญญาณ
        ตอนที่8 ทำความรู้จักกับจักระ และมุทรา
                ทิศทางการหมุนจักระ
                หลักในการกำหนดจินตภาพ Visualize
                ธาตุจักระกับมุทราสูตร
                ตารางเทียบธาตุจักระ
            ความหมายของจักระทั้ง7และมุทราที่เชื่อมโยง
                จักระ1 มูลธาร Muladhara / Root Chakra
                จักระ2 สวาธิษฐาน Swadhisthana / Sacral Chakra
                จักระ3 มณีปุระ Manipura / Sola Plexus Chakra
                จักระ4 อนาหตะ Anahata / Heart Chakra
                จักระ5 วิสุทธิ Vishuddha / Throat Chakra
                จักระ6 อาชณะจักระ Ajna / Third Eye Chakra
                จักระ7 สหัสธาร Sahasrara / Crown Chakra
                ตารางเทียบมุทราสูตรกับจักระ
        ตอนที่9 สูตรการฝึกปราณกับจักระมุทรา
            ขั้นที่1 ฟอกปราณบริหารปอดและหลอดลม
            ขั้นที่2 ฝึกหมุนที่7 ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra
            ฝึกฌานจักระมุทรา
            ขั้นที่3 ฝึกหมุนจักระที่3 อัคนีมุทรา Agni Mudra
            ขั้นที่4 ฝึกหมุนจักระที่5 อากาศมุทรา Akasha Mudra
                      ฝึกหมุนจักระที่4 วายุมุทรา Vayu Mudra
            ขั้นที่5 ฝึกหมุนจักระที่2 วรุณมุทรา Varun Mudra
                      ฝึกหมุนจักระที่6 ญาณมุทรา Gyan Mudra
        
            ขั้นที่6 การฝึกปราณจักระมุทราเพื่อหนุนธาตุ
                เดินปราณหนุนธาตุดิน ภูมุทรา Bhu Mudra
                เดินปราณหนุนธาตุน้ำ ธยานมุทรา Dhyana Mudra
                เดินปราณหนุนธาตุไฟ อาปานะมุทรา Apana Mudra
                เดินปราณหนุนธาตุลม วายุมุทรา Vayu Mudra
                เดินปราณหนุนธาตุอากาศ ชุนยะมุทรา Shunya Mudra
            ขั้นที่7 การใช้พลังจักระมุทราเพื่อผลสำเร็จ
                      อุตรโพธิมุทรา Uttarabodhi Mudra
        ตอนที่10 การสร้างจินตภาพไปสู่ความเป็นจริงอันประจักษ์
            Visualize to Manifest
            ตัวอย่างการแมนิเฟสที่ดี
        ตอนที่11 ทำความรู้จักกับปราณชี่ และวิถีแห่งธรรมชาติ
            พลังชี่ Qi
            ชี่หยิน-หยาง
            ตารางธาตุกับอวัยวะร่างกาย
            จุดสำคัญบนร่างกายสำหรับการฝึกปราณ

        ตอนที่12 สูตรการฝึกปราณชี่ "วิถีธรรมชาติ"
            แบบที่1 การฝึกท่าร่างพื้นฐานฟอกปราณบริหารตันเถียน
            แบบที่2 การฝึกทะลวงปราณหยิน-หยาง
            แบบที่3 การฝึกปราณบริหารปอดกล่องเสียง
            แบบที่4 การเดินปราณฟ้าดิน (ท่ายืน)
            แบบที่5 กายบริหารแกว่งแขน
            แบบที่6 กายบริหารท่ายืน-ยืดหดเส้นเอ็น 12 ท่า
            แบบที่7 กายบริหารท่านั่ง-ขับพิษบำรุงไขกระดูก 12 ท่า

ปัจฉิมบท>>> "ปราณวิถี" กับการดำเนินชีวิตให้ดีมั่งมีศรีสุขภาพ
        ตอนที่13 ใช้ปราณอย่างไรในชีวิตประจำวัน
            ปราณวิถีกับการควบคุมอารมณ์ให้อยู่หมัด
            หลักวิถีปราณสู่ความเป็นเอกภาพ
            ระบบปราณกับการดูแลสุขภาพ
        บรรณารุกรม
        (รวมทั้งสิ้น 214 หน้า)


ปราณวิถี คือมรรคา กายาเลิศ
ก่อกำเนิด สุขภาพ ปราบทุกขา
มิใช่บ่วง เพื่อสับสน ล้นอัตตา
เกิดปัญญา พาให้ดู รู้เพื่อทำ


👇💖ช่องทางการสั่งซื้อหนังสือ💘👇

สามารถสนับสนุนหนังสือเกี่ยวกับศาสตร์พยากรณ์, ตำนานและความเชื่อ, ธรรมชาติบำบัดและสุขภาพ ฯลฯ ของผู้เขียน "ไป๋ล่ง" ได้หลายช่องทาง .. ดังนี้












ความคิดเห็น

คนชอบอ่าน

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ วานส์” (QUEEN OF WANDS)

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ เพนตาเคิลส์” (QUEEN OF PENTACLES)

ความหมายของไพ่บุคคล คิง ออฟ คัพส์ (KING OF CUPS)

ความหมายของไพ่ "เดอะ เวิลด์" (THE WORLD) สอนอ่านไพ่ยิปซี