บทความ

เราจะทำอย่างไร ในเมื่อการครองเรือนต้องมีเซ็กส์กับคู่ครอง โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         เรื่องเล่าจากประสบการณ์ ในขณะนั้นผู้เขียนเคยตั้งข้อสงสัยต่อนักปฏิบัติที่เคร่งครัดท่านหนึ่งว่า “เราจะทำอย่างไร ในเมื่อการครองเรือนต้องมีเซ็กส์กับคู่ครอง (เสพกามารมณ์) ในฐานะที่เราเป็นปุถุชนคนธรรมดา ที่ต้องประกอบสัมมาอาชีวะ เพื่อความมั่นคงในครอบครัว เพื่อการดูแลบุคคลที่รัก เราจะสามารถทำอย่างไรให้เข้าถึงธรรมของพระพุทธองค์และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้” เมื่อถามไปแล้ว กลับได้คำตอบที่ว่า “คุณคิดว่าการมีเซ็กส์มันสำคัญแค่ไหน ถ้าไม่มีแล้วจะเป็นอย่างไร” และมีนักปฏิบัติบางท่าน ที่หันกลับมามองแรงใส่ผู้เขียน เหมือนกับว่า “ถามมาได้อย่างไร มันไม่ใช่แนวทางคำสอน” อารมณ์ประมาณนั้น อีกครั้งคือขณะนั้น ผู้เขียนเดินทางไปที่วัดสายปฏิบัติแห่งหนึ่งตั้งใจจะเข้าฝึกกรรมฐาน และสอบถามแม่ชีผู้นำในการปฏิบัติธรรมว่า “แม่ขาวครับ (ทางวัดจะเรียกขานท่านว่าแม่ขาว) พอดีเพื่อนผมอยากมาปฏิบัติธรรมด้วย แต่เมื่อคืนเขาดื่มมานิดหน่อย สามารถร่วมรับศีลเย็นนี้ได้หรือไม่ครับ” คำตอบที่ได้รับก็คือ “พากลับไปบ้านก่อน พ้นสามวันแล้วค่อยมาใหม่” และไม่มีคำอธิบายใด ๆ ต่อจากนั้น มันทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งท...

การหล่อหลอมศาสนาพุทธ-พราหมณ์ เข้าสู่สังคมไทย โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
        สังคมไทยของเราถูกหล่อหลอมด้วยคำสามคำที่เราหลายคนท่องจำจนขึ้นใจนับตั้งแต่เล็กแต่น้อย นั่นก็คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งปวง และสถาบันที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแทบจะเรียกได้ว่า มากกว่าครึ่งก็คือ สถาบัน “ศาสนา” อันเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นแนวทางในการประพฤติตนให้อยู่ในจารีตและจริยธรรมอันดีงาม เป็นต้นกำเนิดของศาสนพิธีที่คนไทยชาวพุทธต้องคลุกคลีแทบจะทั้งชีวิตก็ว่าได้ แต่มีใครเคยสงสัยไหมครับว่า ประเทศไทยของเรา ให้กำเนิดศาสนาพุทธนิกายปัจจุบัน หรือเรารับเอาศาสนาพุทธเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติตอนไหน แล้วทำไมความเชื่อในส่วนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ถึงได้ติดสอยห้อยตามมาด้วยอย่างเหนียวแน่น แถมยังไปดึงเอาวัฒนธรรมตะวันออกอย่างศาสนาพุทธฝ่ายมหายานเช่นเมืองจีนมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งหากเราลำดับเหตุการณ์ตามหน้าประวัติศาสตร์ จะทำให้เราเข้าใจบริบทส่วนนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ      ย้อนกลับไปในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ปกครองแคว้นมคธ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดีย ครองราชย์ห้วงปีพุทธศักราช ๒๗๐-๓๑๑  ขณะนั้นแคว้นมคธมีอำนาจปกครองค...

มูลเหตุแห่งการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในอินเดีย โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
        มูลเหตุแห่งการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในอินเดีย เกิดจากวิถีปฏิบัติ ที่เปลี่ยนไปของคณะสงฆ์ในอินเดีย ในยุคพุทธศาสนารุ่งเรือง มีการสร้างวัดวาอาราม สร้างวิหารใหญ่โต เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และการได้รับทุนสนับสนุนจากราชวงศ์ และมหาเศรษฐีผู้ศรัทธาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กิจของสงฆ์ผิดแผกไปจากเดิม ไม่มีการบิณฑบาต ไม่มีการเทศนาธรรม และทิ้งห่างพุทธศาสนิกชน พระสงฆ์ในสมัยนั้นเก็บตัวบ่มเพาะความรู้อยู่เพียงในวัดวาอาราม ทำให้ความเจริญแทรกซึมของศาสนาฮินดูมีโอกาสกว้างกว่าศาสนาพุทธ และเมื่อถึงคราวเศรษฐกิจการค้าถดถอยลง ผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาลดน้อยลง จนกระทั่งการเปลี่ยนราชวงศ์ ก็เป็นจุดถดถอยของการแผ่ขยายศาสนาในอินเดีย และค่อย ๆ หดตัวลงเรื่อย ๆ บ้างก็เปลี่ยนกลับไปนับถือศาสนาฮินดู เพราะศาสนกิจของฮินดูที่ครอบครองในกลุ่มอำนาจทางการเมืองนั้นมีอยู่มากไม่ลดน้อยถอยลงเท่าศาสนาพุทธ และเมื่อถึงจุดที่มีการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามโดยชาวมุสลิม ที่เข้ามาทำลายอารยธรรมดั้งเดิมในอินเดียอย่างคุกคาม ทำให้พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนพระคลังเก่าแก่จากทรัพย์สมบัติเดิมที่เคยได้รับอุปถัมภ์ ตกเป็นเป้า...

ศาสนาผีกับสังคมไทย โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       ศาสนาผีมีลักษณะเป็นสรรพเทวนิยม (เรียกได้ว่านับถือกันแบบสารพัดเทวดา อะไรก็ได้หมด) โดยมีผู้นำความเชื่อเป็น “หมอผี” ผู้ถือศาสตร์วิชาขอมโบราณ มาถึงขอมไทย การสืบทอดความเชื่อหลัก ก็คาดว่าน่าจะมาจากพราหมณ์-ฮินดู ต่อมาก็ผสมผสานพุทธวิถี (แนวทางแบบพุทธ) เข้าไปด้วย ศาสนาผี เป็นศาสนาดั้งเดิมของ “ชาวไท” กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่ตั้งรกรากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับแต่สมัยโบราณ ประกอบด้วยพม่า, ลาว, ไทย, เวียดนาม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มย่อยที่กระจัดกระจายไปแถบเอเชียใต้บางส่วน เช่น อินเดีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีน ซึ่งก็มีข้อสันนิษฐานเรื่องของการอพยพย้ายถิ่นมากมาย ใครสนใจสามารถหาอ่านได้ในหนังสือประวัติศาสตร์นะครับ พูดคร่าวถึงสิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือประเพณีการบูชา เกี่ยวกับการบูชาเทวดาและการไหว้ผี มีความเชื่อว่าวิญญาณ ๓๒ ตน ซึ่งเรียกว่า “ขวัญ” มีหน้าที่ปกปักรักษาร่างกาย จึงเห็นได้บ่อยในประเพณีบายศรีสู่ขวัญ และความเชื่อเกี่ยวกับ “ผี” ที่มีศักดิ์เป็นเทพารักษ์ หรือผีที่เป็นวิญญาณบรรพบุรุษ ผีวัด ผีหลักเมือง และก็มีวิญญาณร้ายกาจที่คอยทำร้ายคน เรียกว่า “ขวัญชั่ว” ของคนในชาติ...

ความเชื่อนำไปสู่ความงมงายจริงหรือไม่? โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
        เมื่อกล่าวถึงความเชื่อ มันสามารถตีความไปได้อีกหลากหลายนะครับ เช่น เชื่อในเรื่องอะไร มีทั้งเชื่อในสิ่งที่เป็นไปได้ และเชื่อในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือแม้กระทั่งความเชื่อในสิ่งที่มองเห็น และเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น บริบทของความเชื่อนี้ ถูกตีความไปต่าง ๆ นานา เช่นบางสิ่ง คนที่เคยเห็นด้วยตาก็จะบอกว่า “ฉันเชื่อนะว่าสิ่งนั้นมีตัวตนจริง ๆ” ในขณะที่คนที่ไม่เคยเห็นก็จะเถียงสุดชีวิตว่า “สิ่งนั้นไม่มีจริง อย่ามาโกหก” ดังนั้นบรรทัดฐานของความเชื่ออาจถูกมองไปในสิ่งที่ตนคิด สิ่งที่ตนเห็นว่าถูก หรือสิ่งที่ตนเห็นว่าผิด เกิดความยึดมั่นถือมั่นในอัตตา ว่าฉันเชื่อแบบนี้ใครก็อย่ามาเถียง พอเข้าลักษณะนี้ก็กลายเป็นเหตุของความงมงายครับ พอกล่าวมาถึงตรงนี้ก็ต้องพิจารณากันแล้วว่า “งมงายคืออะไร” คำว่า งมงาย แปลว่า “ความเชื่อโดยไม่มีเหตุผล เชื่อโดยไม่รับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น” ซึ่งถ้าพฤติกรรมเหล่านี้คือความงมงาย คนสุดโต่ง ดื้อรั้น ไม่ยอมรับฟังใครก็แสดงถึงความเป็นคนงมงายได้เช่นเดียวกัน  ยกตัวอย่างเช่น  นาย ก. และนาย ข. เคยเดินไปซอยเปลี่ยว แล้วเห็นดวงวิญญาณผู้หญิง น...

แนวทางการใช้ชีวิตให้ก้าวสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยโดยเร็ว โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         บางครั้งในการดำเนินชีวิตเราอาจจะต้องมีหลักยึดเพื่อให้เห็นผลสำเร็จนะครับ บางคนบ่น บางคนท้อ ว่า “เห้อออ.. ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยสักที” ทั้งที่ชีวิตแต่ละคนมีองค์ประกอบไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่นเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่ง เป็นลูกสาวของบ้าน มีพี่ชายสองคน และต้องดูแลพ่อกับแม่ ด้วยความที่พี่ชายไม่ขยันเอาการเอางาน จึงกลายเป็นภาระอยู่บ่อยครั้ง และทุกอย่างตกอยู่กับน้องสาวคนเดียว นางก็มักจะบ่นบ่อย ๆ ว่า “ฉันต้องทำยังไงถึงจะรวยสักที” เมื่อเราใช้สติพิจารณา คำถามมันก็อยู่ที่ตัวคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว แต่พอเอาเข้าจริงก็ทำไม่ได้ เพราะถูกปลูกฝังมาแบบนี้ “ลูกต้องดูแลครอบครัวนะ, ลูกต้องทำนะ เพราะหวังพึ่งพี่ชายไม่ได้, ลูกต้องเป็นผู้นำนะ ฯลฯ” พอผูกตัวเองไว้กับบ่วงกรรมของทางบ้าน ก็ไม่สามารถเติบโต ไม่สามารถก้าวข้ามไปมีชีวิตที่ดีของตนเองได้ หามาได้เท่าไหร่ก็หมดไปเพราะแรงถลุง และไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ของสมาชิกคนอื่น      เมื่อสำรวจหลักคำสอนในเชิงพุทธ เราก็พอจะยึดเป็นเสาหลักไว้พึ่งพา เพื่อไปสู่ความสำเร็จแห่งการร่ำรวย ลำดับแรกก็ที่คนมักชอบพูดกัน และถูกขนานนามว่า “หัวใจเศรษฐี...

หนทางสู่ความสำเร็จในชีวิต ด้วยแนวทางปฏิบัติที่พิสูจน์ได้ โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         เคยได้ยินทฤษฎีเรื่อง “กฎแห่งแรงดึงดูด” หรือ Law of Attraction ไหมครับ หลักปรัชญาที่ถูกกล่าวถึงมากตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ตามหลักความคิดที่ว่า การคิดดี จะดึงดูดผลลัพธ์เชิงบวกมาสู่ตัวเสมอ และความคิดลบ จะดึงดูดผลลัพธ์เชิงลบมาสู่ตัวเช่นเดียวกัน โดยเชื่อว่าความคิดเป็นเสมือนพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถดึงดูดสิ่งที่เหมือนกันได้โดยพลังงานเชิงบวก หรือความคิดบวก จะสามารถดึงดูดความสำเร็จ โชคลาภ เงินทอง สุขภาพ และโอกาส วาสนาที่ดีมาสู่ชีวิตได้เช่นเดียวกัน ซึ่งกฎ Law of Attraction จะมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ๑. สิ่งที่เหมือนหรือคล้ายกัน (Like attracts like) จะดึงดูดกันเอง เช่น คนดีดึงดูดคนดี ความคิดดี ดึงดูดคนที่คิดดีเหมือนกัน คล้ายกับว่า ถ้าเราอยากเจอคนที่ดี เราก็ต้องประพฤติตนเองให้ดีเสียก่อน ประมาณนั้น ๒. สุญญากาศเป็นที่น่ารังเกียจของธรรมชาติ (Nature abhors a vacuum) คล้ายกับการกำจัดสิ่งที่ว่างเปล่า หรือไร้ประโยชน์ออกไปจากชีวิต เพิ่มพื้นที่ที่จะบรรจุความคิดดี ๆ ลงไป หรืออีกนัยก็คือ ไม่ปล่อยให้สมองว่างเปล่า คิดหาลู่ทางและโอกาสให้ตัวเองตลอดเวลา และสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นต้อง...

เทคนิคสะสมบุญด้วยการทำงาน หรือกิจวัตรประจำวันแบบง่าย โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       พอเราเรียนรู้กลไกของการค้นหาตัวตน ค้นหาสิ่งที่ชอบสิ่งที่รัก หลังจากนั้นขยันหมั่นเพียรทำมั่นด้วยความมุ่งมั่นจากใจจริง อีกทั้งมองเห็นกระบวนการตรวจสอบสิ่งที่ทำไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด อันเป็นหัวใจของอิทธิบาท ๔ ที่พระพุทธองค์ทิ้งไว้ให้พุทธสาวกนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตหรือปฏิบัติธรรม จึงกล่าวได้ว่า ธรรมแห่งอิทธิบาท ๔ นี้ มีอานิสงส์ที่เป็นผล เป็นธรรมที่ผ่านการเผยแพร่มาแล้ว ก่อนที่คุณจะตั้งใจทำงานอะไรใด ๆ ในแต่ละโปรเจค แต่ละวัน แต่ละเวลา ยกตัวอย่างเช่น ก่อนเข้างานตอนเช้า และกำลังจะเริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ เพื่อเตรียมงานในแต่ละวัน ละเวลาสักน้อยนิด ระลึกถึงอิทธิบาท ๔ แล้วพิจารณาสักแป๊บเดียวพอ (เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล ถ้าคุณทำทุกวัน รับรองว่าหัวใจของอิทธิบาททั้งสี่ประการจะฝังเมมโมรี่ให้คุณเองโดยอัตโนมัติ) วิธีการก็คือ คิดในใจหรือกล่าวออกเสียงว่า “ฉันกำลังจะทำงานที่ฉันรัก, ฉันจะขยันหมั่นเพียร, ฉันจะมุ่งมั่นและตั้งใจ และฉันจะตรวจสอบทบทวนงานของฉันให้ดีที่สุด ตามหลักธรรมอิทธิบาท ๔ ที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ดีแล้ว .... ขออนุโมทนาในบุญแห่งการเผยแผ่พระธรรมทั้ง ๔ ประการนี้” หลังจากนั้น...

การทำบุญกับการขอพร เป็นคนละเรื่อง หนังคนละม้วน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         ในหัวข้อนี้อยากให้เข้าใจก่อนครับว่า บุญ กับ ขอพร เป็นคนละส่วนกัน บางคนเชื่อบทความในอินเทอร์เน็ตเช่น “หยอดเงินใส่ตู้แล้วให้รีบอธิษฐานขอพรเลยนะ เดี๋ยวแสงบุญจะพุ่งขึ้นไปเสียก่อน เราต้องรีบเก็บบุญให้ทัน” เสมือนบุญเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่หากเก็บไม่ทันจะพุ่งขึ้นฟ้า แล้วไปรอให้เราใช้ชาติหน้า ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง และถึงกับต้องนั่งเกาหัว เพราะที่ผ่านมาก็ไม่เคยคำนวณบุญสักทีว่า มันควรจะเทียบเป็นค่าเงินบาทได้เท่าไหร่ หรือบุญมีอัตราแลกเปลี่ยนมากน้อยเท่าใดในสัมปรายภพ เพราะมันไม่มีประโยชน์กับชีวิตประจำวันเลยจริง ๆ ดังนั้น สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดคือ การที่ทำบุญไปแล้ว เราได้รับความรู้สึกอะไร อิ่มเอมแค่ไหน เรามีความสุขที่ได้ทำมากแค่ไหน บางคนไปกับเพื่อน อยากให้เครดิตตัวเองดูดีดูแพงกว่าเพื่อน งั้นใส่สักพันนึงแล้วกัน เกทับไปเลย พอคิดว่าใส่เงินเยอะ ก็ต้องได้พรดี ๆ จึงบรรเลงการขอพรพระอย่างพิถีพิถัน ขอนั่น ขอนี่ ขอเยอะแยะไปหมด สับสนในการทำทานยังไม่พอ ยังสับสนใจการขอพรเข้าไปอีก เละเทะไปหมด เราลองมาจับหลักการแบบนี้นะครับ อาจจะพอให้สายมูทั้งหลายเห็นภาพมากขึ้น และเข้าใจ...

พระพุทธรูปไม่ใช่ที่สถิตดวงจิตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         สายมูที่ไปตามวัดดังเพราะเชื่อในพลังศักดิ์สิทธิ์ มีจุดยึดเหนี่ยวมาจากอะไร ลองคิดตามนะครับ ทุกวันนี้เรากราบพระพุทธรูป เพราะเราเชื่อถึงการมีอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระพุทธรูปใช่หรือไม่ เรากราบพระ เพราะเรามั่นใจว่าในพระพุทธรูปก็คือดวงจิต หรือดวงวิญญาณของพระพุทธเจ้าใช่หรือไม่ หากคำตอบคือ ”ใช่” เราคงต้องทบทวนพิจารณาใหม่ว่า มันอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดหรือเปล่า เพราะมันย้อนแย้งระหว่างเรื่องการดับขันธปรินิพพานโดยสิ้นเชิง ข้อสันนิษฐานที่ดีที่สุดคือ ภายในพระพุทธรูปไม่ใช่ดวงจิตของพระพุทธเจ้า หากแต่ว่ากันตามความเชื่อที่ผู้เขียนค้นคว้าศึกษามาจากตำราโบราณเกี่ยวกับเรื่องของการตั้งสังขาร ภายในคือดวงจิตของเทวดาผู้มีบุญหรือกรรมสัมพันธ์ในการจัดสร้างพระพุทธรูปนั้น และนั่นต่างหากที่สถิตอยู่ เป็นแนวคิดที่ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมบทสวดบูชาแต่ละองค์พระจึงแตกต่างกัน และมีความหมายแฝงเชิงขอพรสอดแทรกเข้าไปให้พร้อม อย่างที่เราคุยกันไปแล้วในหัวเรื่องก่อนหน้าที่ว่า “พุทธบูชา มหาเตชะวันโต” ข้าพเจ้าบูชาพระพุทธ ขอให้ข้าพเจ้ามีเดช หรือมีอำนาจมาก นั่นก็คือการสวดเพื่อบอกกล่าวเทวดาในเทวรูปว่า เราท...

ความเชื่อเรื่องเทวดาประจำองค์พระมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
       ว่ากันต่อด้วยเรื่องเทวดาประจำพระพุทธรูปนะครับ กับพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธรูป ตามความเชื่อแบบพุทธผสมพราหมณ์ ว่าจะทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ มีฤทธานุภาพด้วยอำนาจพุทธคุณ จากการสืบค้นไม่พบว่าพิธีพุทธาภิเษกเริ่มต้นเมื่อใดชัดเจน ผู้เขียนสันนิษฐานว่าเกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย และการออกแบบพิธีกรรมเพื่อให้สอดรับกับความเชื่อของศาสนิกชน โดยการสาธยายพุทธมนต์เพื่อให้ดูขลังมากยิ่งขึ้น มุมมองนี้จึงคล้ายกับพิธีกรรมและความเชื่อ และการสร้างรูปเคารพในเชิงไสยศาสตร์อยู่พอสมควร (คำว่าไสยศาสตร์ คือวิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่มีการสืบค้นว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะคัมภีร์อถรรพเวท การบริกรรมคาถา การลงเลขยันต์ เป็นต้น)      และเมื่อใดที่มีการจัดสร้างสังขารที่ครบอาการ ๓๒ สื่อความหมายในเชิงไสยศาสตร์หมายถึง รูปลักษณะคล้ายมนุษย์คือ ตา หู จมูก ปาก กาย ฯลฯ และการตั้งธาตุหนุนธาตุ ก็เพื่อจำลองธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบเป็นสังขาร และคำว่าสังขารก็คือร่างกาย เป็นรูปที่เปรียบเสมือนบุคคล เมื่อนั้น สังขารนั้นจะเป็นที่อยู่ของเทวดาเบื้องล่าง หรือถ้าเป็นสังขารในกลุ่มตุ๊ก...

วิธีการขอพรต่อเทวดาให้เกิดผลสำเร็จ

รูปภาพ
        การขอพรกับบุญที่เราทำ ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมน้อยกว่า ถ้าหากบริเวณนั้นมีเทวดา หรือมีดวงจิตที่ปฏิพัทธ์ (ผูกพัน รักใคร่) ต่อเราอยู่ ก็อาจจะเป็นไปได้ครับ ที่เขาจะช่วยอวยพรให้เกิดความสำเร็จ แต่หากเขาไม่ชอบใจเรา จากพรก็จะกลายเป็นไม่ได้อะไรเลย ผู้เขียนจึงแนะนำว่า กราบไหว้สิ่งใด จะขอพรกับใคร เอาเป็นสถานที่ หรือเอาเป็นพิกัดเดียว และเอาเป็นที่ ที่ ไปนะครับ ถ้าอุทิศบุญกุศลที่วัดนี้ ก็ขอพรกับเทวดาในวัดนี้ และบอกกล่าวเขาให้ครบถ้วน ให้เขาเมตตา ถ้าเขาช่วยได้เขาช่วยแน่นอน ตรงนี้มันก็ต้องดูว่า แสงเทียนแห่งบุญของเราเพียงพอที่จะสะกดผลกรรมที่เราต้องรับมากน้อยเพียงใดด้วยนะครับ บางคนกรรมหนักมีผลที่ต้องรับหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็ต้องชดใช้ในส่วนนั้น แต่แนะนำว่าอย่าหยุดสร้างบุญ เพราะยิ่งเราหมดสิ้นเวรกรรมได้เร็วเท่าใด หรือผ่านพ้นวิบากกรรมได้มากแค่ไหน แสงเทียนแห่งบุญจะอุ้มชูเราอย่างดียิ่งเลยทีเดียวครับ ต่อมาเป็นวิธีกล่าวขอพร เราจะทำก็ตอนก่อนกราบลาพระ หรือลาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น ก่อนจะกราบสามครั้งก็ให้กล่าวคำขอพรติดตัวกลับบ้านเพื่อเป็นพลังบวกให้กับตัวเอง โดยยกตัวอย่างคำอธิษฐานดังนี...

ศาสนาพุทธกับความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         สาเหตุแห่งการไม่ปฏิเสธความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี เหตุเพราะมีการกล่าวถึง หรือสอดแทรกในพุทธประวัติมากมายหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยเรื่อง บทบาทของเทวดาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยแม่ชีบุญช่วย ศรีเปรม, พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ปี พ.ศ.๒๕๖๖ กล่าวว่า “เทวดาในพระไตรปิฎกสถิตในสวรรค์ ๒๖ ชั้น คือ เทวดากามาวจร ๖ ชั้น อยู่ได้ด้วยอาหารทิพย์ รูปพรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น อยู่ได้ด้วยฌานสมาบัติ หลักธรรมของเทวดาคือโลกปาลธรรม สุจริตธรรม สัมปทา วัตตบท สัปปุริสธรรม อริยทรัพย์ บุญกิริยาวัตถุ เทวดามีบทบาทในการดำรงตนอยู่ในเทวธรรม จอมเทพมีหน้าที่ปกครองเทวดาบริวาร และอารักขามนุษย์ผู้บำเพ็ญสมณธรรม และช่วยเหลือมนุษย์ที่ยากจนแต่มุ่งทำความดี” จากแนวคิดดังกล่าวเหล่านี้ เราจึงพอที่จะสรุปได้ว่า พุทธศาสนาในไทยไม่เคยปฏิเสธการมีอยู่ของเทวดาอารักษ์ แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรงถึงเหล่ามหาเทพ หรือมหาเทวีในรูปแบบคติความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู หรืออาจจะมีอ้างอิงกันบ้างในนิกายตันตระที่พอจะพบบันทึกแต่ก็เป็นยุคหลัง ไม่ใช่สมัยพุทธกาล จึงไม่สามารถนำมาอ้างอิงเชื่อถ...

การอธิษฐานขณะทำบุญแล้วจะได้รับผลบุญเต็มร้อย? โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         โดยที่ก่อนการขอพร เราก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องการอุทิศบุญกุศลอย่างเป็นระเบียบตามแนวความเชื่อกันเสียก่อน อุทิศอย่างไร บุญที่ทำจะลดจะมาก หรือเบาบาง หรือเพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะหลักสำคัญของการขอพรกับเหล่าเทวดาเบื้องล่างนั้นสำคัญ (สามารถอ่านได้ในหัวข้อ “ความเชื่อในการมีอยู่ของเทพเทวี”) อุทิศแล้วจึงขอพร เพิ่มโอกาสสำเร็จโดยหลักแนวคิดเรื่องของพลัง การเพิ่มพลังให้ตนเองและเทวดา เมื่อเทวดามีกำลังมาก พรที่เราจะได้สมหวังก็มีโอกาสมากขึ้นตามไปนั่นเอง รวมไปถึงข้อคิดเกี่ยวกับเทพพราหมณ์-ฮินดู ตามหลักความเชื่อของศาสนาดั้งเดิมก็แถมมาให้อ่านและทำความเข้าใจกัน หลายคนในเมืองไทยยังบูชาผิดหลักศาสนา ปะปนกันจนสับสนแยกไม่ออก เหล่าผีเจ้าเข้าทรงก็สร้างความบิดเบือน จนทำให้เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ความเชื่อเหล่านั้นมีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่ เรามาไล่ลำดับกันไปทีละเรื่องครับ เริ่มจากการทำบุญแบบแมนนวลกันก่อนเลยก็แล้วกันนะครับ กล่าวกันว่า การที่เราชาวพุทธจะทำอะไร สติเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ การดำเนินชีวิตด้วยสติจึงเป็นส่วนหลักในการที่เราจะไม่ประมาท จะไม่พลาด ด้วยเหตุนี้ เราควรฝึกการเจริญสติในแบบช...

ก่อนขอพรอะไรกับเทวดาต้องพิจารณาให้ได้แบบนี้ก่อน โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
        ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจแยกส่วนกันให้ชัดเจนเสียก่อนนะครับว่า ความเชื่อในเรื่องของการขอพรต่อเทวดาอารักษ์ในแบบไทยพุทธ ที่อยู่ประจำไม่ว่าจะพระพุทธรูป เทวรูป หรือแม้กระทั่งรูปเคารพอื่นใดก็ตาม รุกขเทวา รุกขเทวีผู้สถิตตามต้นไม้ใหญ่ เพราะต้นไม้ใหญ่ตามธรรมชาติ สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของเทวดาได้ เพราะประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นธาตุกำเนิด เทวดาเหล่าใดที่เฝ้าดูแลพุทธสถาน ที่เรามักเห็นรูปแกะสลักเทวดา หรือเทวรูปพนมมือตามวัดวาอาราม หรือถูกอัญเชิญให้เฝ้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ใดก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้ว เทวดาเหล่าใดที่สถิตเบื้องล่าง ยังเป็นเทวดาผู้มีกำลังบุญน้อย และกำลังบุญมากปะปนกันไป ยังคงมีกิเลสปะปน ยังคงอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมอันดีงาม เทวดาเหล่านี้จะชื่นชอบติดตามมนุษย์ผู้มีศีลธรรม เทวดาเหล่านี้จะมีกำลังช่วยเหลือมนุษย์ผู้ปฏิบัติธรรมเป็นนิจ สวดมนต์เป็นกิจวัตร หากบ้านของใครมีพระพุทธรูป แน่นอนว่าการปฏิบัติจริยวัตรที่ดีงามสม่ำเสมอเทวดาเหล่านั้นจะเฝ้าพิทักษ์รักษาเรา เหตุเพราะเราเป็นต้นบุญของเขา เป็นผู้เติมแสงเทียนให้แก่เขา ถ้าบ้านไหนไม่หมั่นเพียร หรือไม่ท...

การอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้เทวดาก่อนขอพร โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
        กลับมาต่อกันที่เรื่องของการอุทิศให้ผู้ล่วงลับ หรือเทวดาองค์ใด หรือดวงจิตใดก็ตาม ก็ต้องทำคือ บอกกล่าวเขาด้วยว่า “เออ ... คุณมาอนุโมทนาบุญเอานะ” หรือว่า “เชิญท่านมาร่วมอนุโมทนาบุญนะ” เพราะเมื่อเขาได้ยินได้ฟังแล้วยินดีในบุญ และร่วมอนุโมทนาบุญกับเรา อานิสงส์ส่วนนี้จะเกิดขึ้น ในส่วนของแนวทางการกล่าวคำอธิษฐานนั้นอย่างที่ผู้เขียนบอกว่า ไม่มีกฎตายตัว ไม่ต้องกลัวว่าจะพูดผิดพูดถูก หรือจะคัดลอกตรงนี้ไปใช้ได้เลย ตัวอย่างเช่น “ฉันขออุทิศบุญกุศลจากการถวายเงิน ๑๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าน้ำค่าไฟให้แก่วัด .... ในครั้งนั้น/ครั้งนี้ จงสำเร็จถึงเทวดาอารักษ์ทั้งหลายในเขตบริเวณวัด...(ชื่อวัดอะไรก็ว่าไป) แห่งนี้ และญาติผู้ล่วงลับ.....(แล้วแต่จะกล่าว) ขอให้ท่านทั้งหลายพึงร่วมอนุโมทนาในบุญกุศลที่ฉันตั้งใจทำดังกล่าวนี้ด้วยเถิด” ในการกล่าวคำอธิษฐานนี้ สำคัญที่เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ทุกสิ่งที่เราพูดเราต้องคิดตามอย่างมีสติ ผู้เขียนให้แนวทาง การตัดสินใจปฏิบัติขึ้นอยู่กับตัวคุณเอง รวมถึงการพิสูจน์ทราบ คุณก็จะได้รับ หรือรู้ด้วยตัวคุณเองเช่นเดียวกันครับ และดังเช่นที่ยกตัวอย่างเรื่องบุญกับเทีย...

การใช้ “บุญ” สินทรัพย์ทางธรรมดึงดูด “เงิน” ทรัพย์สินทางโลก โดย อ.ไป๋ล่ง

รูปภาพ
         กิจกรรมใดบ้างที่ประกอบขึ้นแล้วเกิดเป็นบุญกุศล เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ เพราะบุญในทางพุทธศาสนา เป็นต้นทุนสำคัญที่ทำให้เรามาเกิดในภพชาตินี้ แล้วบุญเหล่านี้เราจะสร้างเพิ่มได้อย่างไร เพราะหลักการใช้กฎแรงดึงดูดทางธรรมและทางโลกนั้น มีความเป็นไปได้สูง แต่ไม่ได้เกิดจากการท่องบ่นเพียงอย่างเดียว อย่างที่พูดไปหลายครั้ง สิ่งที่ผู้เขียนทำมาตลอดและเห็นผลชัดเจนก็คือ เมื่อเวลาที่ปฏิบัติกิจกรรมใดที่เป็นบุญแล้วจะเกิดพลังบวกจากภายในเสมอ ใจมันจะฟู ร่างกายมันจะสดชื่น ถึงแม้จะอยู่ในที่ ที่อากาศร้อนอบอ้าว แต่เรากลับรู้สึกสบายใจ ภูมิใจ และมีกำลังใจ สิ่งเหล่านี้มันเป็นแรงผลักดันที่ดีจริงครับ ยิ่งห้วงที่ได้ไปภาวนาที่ต่าง ๆ บ่อย ครั้ง ก็ยิ่งมีความสุข พอจิตปฏิพัทธ์โดยธรรม ก็มักจะนำผลลัพธ์ที่ดีมาสู่ตัวผู้เขียนเสมอ เช่น ขายของคล่องขึ้น มีโอกาสที่ดี มีคนช่วยเหลือ หรือสนับสนุนในบางเรื่อง มีเมตตาคนเห็นคนรักใคร่เอ็นดู เป็นแรงดึงดูดที่ดีหลายประการทีเดียว แต่นี้เป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัว ถ้าคุณอยากรู้ หรืออยากพิสูจน์ก็ต้องลองทำด้วยตัวคุณเอง และในส่วนของหัวข้อนี้ เราจะเลี่ยงการพิจารณา...