ศาสนาผีกับสังคมไทย โดย อ.ไป๋ล่ง


     ศาสนาผีมีลักษณะเป็นสรรพเทวนิยม (เรียกได้ว่านับถือกันแบบสารพัดเทวดา อะไรก็ได้หมด) โดยมีผู้นำความเชื่อเป็น “หมอผี” ผู้ถือศาสตร์วิชาขอมโบราณ มาถึงขอมไทย การสืบทอดความเชื่อหลัก ก็คาดว่าน่าจะมาจากพราหมณ์-ฮินดู ต่อมาก็ผสมผสานพุทธวิถี (แนวทางแบบพุทธ) เข้าไปด้วย ศาสนาผี เป็นศาสนาดั้งเดิมของ “ชาวไท” กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่ตั้งรกรากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับแต่สมัยโบราณ ประกอบด้วยพม่า, ลาว, ไทย, เวียดนาม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มย่อยที่กระจัดกระจายไปแถบเอเชียใต้บางส่วน เช่น อินเดีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จีน ซึ่งก็มีข้อสันนิษฐานเรื่องของการอพยพย้ายถิ่นมากมาย ใครสนใจสามารถหาอ่านได้ในหนังสือประวัติศาสตร์นะครับ พูดคร่าวถึงสิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือประเพณีการบูชา เกี่ยวกับการบูชาเทวดาและการไหว้ผี มีความเชื่อว่าวิญญาณ ๓๒ ตน ซึ่งเรียกว่า “ขวัญ” มีหน้าที่ปกปักรักษาร่างกาย จึงเห็นได้บ่อยในประเพณีบายศรีสู่ขวัญ และความเชื่อเกี่ยวกับ “ผี” ที่มีศักดิ์เป็นเทพารักษ์ หรือผีที่เป็นวิญญาณบรรพบุรุษ ผีวัด ผีหลักเมือง และก็มีวิญญาณร้ายกาจที่คอยทำร้ายคน เรียกว่า “ขวัญชั่ว” ของคนในชาติก่อนจำพวก “ผีเผต” ปอบ ผีดิบ ฯลฯ ต้องทำการไล่ผีร้ายออกไปจากการสิงสู่ในร่างกายคน และยังมีความเชื่อเรื่องของเรือนเจ้าที่ หรือที่เรียกว่า “ผีปู่ผีย่า” หรือ “ศาลตายาย” อันเชื่อว่าเป็นวิญญาณเจ้าของที่เดิม หรือบรรพบุรุษของตนที่ยังวนเวียนอยู่ในที่ดินแห่งนั้น มีการกราบไหว้เพราะเชื่อว่าจะช่วยปกปักรักษาอาณาเขต หรือบริเวณบ้านเรือน และคนในครอบครัวให้ร่มเย็นเป็นสุข การเคารพในผืนป่า และความเชื่อเรื่องผีป่า หรือเจ้าป่าเจ้าเขา รุกขเทวา รุกขเทวี หรือผีพญาแถน อันเชื่อว่าเป็นเทวดาที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ ผีหลักเมือง (พระหลักเมือง), ผีเสื้อเมือง (พระเสื้อเมือง), ผีทรงเมือง (พระทรงเมือง) เป็นต้น

     เห็นได้ว่า ความเชื่อเหล่านี้ผูกพันกับคนไทยมาช้านาน และฝังรากลึกนับแต่โบราณกาลมาถึงปัจจุบัน ถ้าจะถามในมุมของผู้เขียนว่า “คิดอย่างไรกับความเชื่อนอกหลักคำสอนพระพุทธศาสนา” ผู้เขียนเองกลับมองอย่างให้เกียรติว่า แต่ละศาสนา แต่ละความเชื่อย่อมมีที่มาที่ไป อย่างเช่นศาสนาใหญ่บนโลกก็ไม่ได้มีแค่เจตนาเดียวกันกับพุทธศาสนา และในขณะที่เราเชื่อในแบบของเรา เขาก็เชื่อในแบบของเขา ในขณะที่เรามองว่าเขาอาจไม่พบแสงสว่าง ไม่เห็นทางหลุดพ้น เขาก็มองว่าเรางมงายกราบไหว้มนุษย์ด้วยกัน ทำไมไม่ไหว้เทพเจ้าผู้สร้างและเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หลักการง่าย ๆ ครับสำหรับผู้เขียนคือ “ใจเขาใจเรา” ต่างคนต่างวิถี ต่างความคิด ต่างเป้าหมายในชีวิต หากว่าเรานับถือพุทธศาสนาด้วยใจที่เป็นกลาง น้อมนำคำสอนมาปฏิบัติได้ และให้ความเหมาะสมกับชีวิตปัจจุบัน สร้างพลังบวก เรียกพลังทรัพย์ ทำชีวิตให้มีคุณค่าและมั่งคั่งร่ำรวย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อถึงวันหนึ่งของชีวิต อาจจะเป็นหลังปลดเกษียณ หรือยามแก่ชรา ดวงจิตอาจปลดพันธนาการสู่ความบริสุทธิ์ที่แท้จริง และเข้าถึงหนทางแห่งการดับทุกข์ในยามนั้นก็เป็นได้ ดังนั้นความเชื่ออื่นใดบนโลก ไม่ใช่เรื่องที่ต้องลบล้างเสมอไป แต่เราจะเชื่อแบบไหนไม่ให้งมงาย

     นั่นเป็นสิ่งที่เราพึงทำความเข้าใจแต่เบื้องต้นก่อนว่า “เชื่อแบบไหนที่เรียกว่างมงาย“ แล้วงมงายแปลว่าอะไร หลายคนขยันพูดแต่ไม่เข้าใจควาหมายด้วยซ้ำ พอถามและให้อธิบาย บ้างก็งงเป็นไก่ตาแตกก็มี เพราะคิดว่าตัวเองเข้าใจ แต่ไม่เคยตั้งคำถาม ไม่เคยศึกษา ไม่เคยพิสูจน์สิ่งที่ควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่ออย่างมีสติเพียงพอ

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก
หนังสือ "สายมูต้องมนต์" เขียนโดย อ.ไป๋ล่ง

👇👇👇สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่นี่ครับ👇👇👇👇

👇สามารถเข้ากลุ่มรับชมวิดิโอเกี่ยวกับสายมูฟรีที่นี่ครับ👇
หรือสั่งซื้อได้ที่

พูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่



 

ความคิดเห็น

คนชอบอ่าน

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ วานส์” (QUEEN OF WANDS)

ความหมายของไพ่บุคคล “ควีน ออฟ เพนตาเคิลส์” (QUEEN OF PENTACLES)

ความหมายของไพ่บุคคล คิง ออฟ คัพส์ (KING OF CUPS)

ความหมายของไพ่ "เดอะ เวิลด์" (THE WORLD) สอนอ่านไพ่ยิปซี